7 ก้าวสำคัญในการเป็น Data-Driven Organization

March 24, 2023

โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

Data-Driven เป็นคำที่ได้ยินกันมาบ่อยครั้งในโลกธุรกิจ และเป็นที่พูดถึงโดยทั่วกันจากบุคคลที่ประสบความสำเร็จ เช่น จากคุณ Jeff Weiner ผู้ดำรงตำแหน่งเป็น Chief Executive Officer (CEO) ของ LinkedIn กล่าวว่า

“Data Really Powers Everything That We Do”

กล่าวโดย Jeff Weiner, CEO of LinkedIn

Data-Driven Organization สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ เพราะหากองค์กรรู้จักเก็บ รู้จักใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม จะมีทิศทางการวางแผนกลยุทธ์ที่อิงจากข้อมูลมากขึ้น สร้างการตัดสินใจที่มีเหตุผลรองรับมากขึ้น  พัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน หรือสามารถยกระดับ Customer Experience จาก Insight ที่คาดไม่ถึงจากข้อมูลได้

 

ซึ่งการเป็น Data-Driven Organization สามารถเริ่มทำได้เบื้องต้นตั้งแต่การทำบนโปรแกรมทั่วไป เช่น Microsoft Excel แต่ต้องอาศัยการจัดระเบียบข้อมูล เตรียมข้อมูลไปใช้อย่างถูกต้อง และดำเนินการตามแนวทางการบริหารองค์กรให้เป็น Data-Driven Organization

 

เราจึงขอเสนอ 7 ก้าวสำคัญในการเป็น Data-Driven Organization อย่างมั่นคง ดังนี้

1.กำหนดเป้าหมาย ทิศทาง และ Business Objective ขององค์กรอย่างชัดเจน

ทำไมต้องกำหนดเป้าหมายขององค์กร? ก็เพื่อให้รู้ว่า อะไรคือตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กรของคุณ ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนขั้นตอนอื่นให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดนั้นๆ และสร้างความชัดเจนในแนวทางต่อไป

 

2. สนับสนุนให้คนในองค์กรมีความสามารถในการใช้ข้อมูล (Data Literacy)

Data Literacy คือ ความสามารถในการใช้ข้อมูล ถ้าในเชิงการทำงาน คือ คุณมีความสามารถในการตีความข้อมูล อ่านข้อมูล และเลือกนำข้อมูลไปใช้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งองค์กรต้องให้ความสำคัญกับการยกระดับ Data Literacy ของพนักงานให้มากขึ้น ทำได้โดยการ จัดหาคอร์สเทรนนิ่ง หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมกับพนักงาน เพื่อนำไปสู่พัฒนาในเชิงบุคคล และสนับสนุนทิศทาง เป้าหมายขององค์กร

 

3. ส่งเสริมการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ (Data-Driven Decision Making)

Data-Driven Decision Making คือ การใช้ข้อมูลในการช่วยตัดสินใจ โดยองค์กรต้องปลูกฝังให้พนักงานมี Data-Driven Mindset ที่ใช้ข้อมูลเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจเป็นส่วนหลัก ไม่ใช่นำการตัดสินใจโดยใช้สัญชาติญาณหรือความคุ้นเคย เพราะการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ จะอยู่ในพื้นฐานความเป็นจริง มีหลักฐานประกอบชัดเจน และสามารถนำไปสู่โอกาสใหม่ๆทางธุรกิจได้

 

4. กำหนดนโยบายการใช้ข้อมูลอย่างชัดเจน (Data Governance Policy)

องค์กรต้องสร้างข้อปฏิบัติหรือคู่มือการใช้ข้อมูลภายในองค์กร ที่บอกถึงวิธีการใช้ข้อมูลอย่างชัดเจน เพื่อความปลอดภัย ไม่ขัดต่อจริยธรรมและกฎหมายในการใช้ข้อมูล

 

5. อำนวยให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง

การอำนวยความสะดวกให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เป็นอีกหนึ่งการสนับสนุนการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ เพราะมีข้อมูลพร้อมต่อการนำไปใช้ องค์กรจึงควรมีพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูล หรือ Dashboard ต่างๆ ให้พนักงานสามารถค้นหาข้อมูลได้ง่าย คล้ายห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ในองค์กร

 

6. สร้างการร่วมมือในการใช้ข้อมูลในการทำงานร่วมกัน

เนื่องจากในองค์กรมีหลายหน่วยงาน และแต่ละฝ่ายจะมีข้อมูล หรือ Insight ที่แตกต่างกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ให้พนักงานแบ่งปันข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร แบบ Cross-Function หรือข้ามสาย ข้ามหน่วยงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายมีข้อมูลหลายมุมมอง และสามารถนำไปใช้วางแผนหรือตัดสินใจได้แม่นยำมากขึ้น

 

7. หมั่นสังเกตการณ์และปรับปรุง 

ผู้บริหารต้องหมั่นดูว่า แนวทางการปฏิบัติขององค์กร มีความสอดคล้องตัวชี้วัดความสำเร็จที่วางไว้หรือไม่ พนักงานสามารถปรับตัวได้มากน้อยเพียงใด และมีจุดไหนที่ต้องการแรงสนับสนุนเพิ่มเติม เพื่อหาวิธีพัฒนา ปรับปรุง ให้องค์กรไปสู่ Data-Driven Organization ได้อย่างมั่นคง

 

แนวทางปฏิบัติทั้ง 7 ข้อนี้ เป็นข้อปฏิบัติพื้นฐาน ที่จะนำไปสู่ Data-Driven Organization 

อย่างไรก็ตาม แต่ละองค์กรต้องประยุกต์วิธีต่างๆให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กรของตน เพราะยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมาย เช่น สิ่งแวดล้อมภายในองค์กร ความพร้อมของพนักงาน วัฒนธรรมองค์กร ฯลฯ ที่ต้องนำมาวิเคราะห์ในสมการนี้

ซึ่งจากความเชี่ยวชาญทางด้าน People & Organization Transformation ของเรา Pragma and Will Group สามารถช่วยองค์กรในการเตรียมพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการวางแผนวิธีการ Execute และเตรียมพร้อมโครงสร้างองค์กร พนักงาน ให้พร้อมสู่ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่จะเป็นโอกาสทางธุรกิจในอนาคต

#PragmaandWillGroup #PWG #DataDrivenOrganization

 

หากต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการ Transform การบริหารพนักงานสู่การเป็น Data-Driven Organization สามารถติดต่อ Pragma and Will Group ไปที่ช่องทางด้านล่าง

 

 

ติดตามบทความต่อไปที่เกี่ยวข้อง

  • AI ผู้ช่วยใหม่ในการทำงาน Read More

  • ออกแบบค่าตอบแทน ให้แข็งแรงและสอดคล้องกับทิศทางองค์กร Read More

  • การจ่ายค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร Read More
หากมีข้อสงสัยเรื่อง People & Organization สามารถติดต่อ Pragma and Will Group ได้ผ่านช่องทางด้านล่างนี้

ติดตาม Pragma and Will Group ได้ที่