ความท้าทายของผู้บริหาร งานล้นมือ จะดูแล Talent อย่างไร (Talent Development for Manager)

April 19, 2024

โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

ในโลกของการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงในปัจจุบัน การทำ Talent Development ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้าง Competitive Advantage จากทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่

 

องค์กรต่างๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายในการระบุและพัฒนา Capability ที่จำเป็นสำหรับการเติบโตในอนาคต ในขณะเดียวกัน Manager ก็ต้องจัดสรรเวลาและทรัพยากรอย่างชาญฉลาดเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการทำ Talent Development ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

มาดูกันว่า องค์กรจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพของ Talent Development ได้อย่างไรบ้าง

 

Manager มี Challenge อะไรบ้างในการทำ Talent Development

 

  1. ยากที่จะเข้าถึง และระบุ Capability Gap ของพนักงานในองค์กร

หนึ่งใน Challenge สำคัญที่สุดสำหรับ Manager คือ การระบุ Capability Gap ของพนักงานในองค์กร ซึ่งจะส่งผลให้ การทำ Talent Development ไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของธุรกิจ ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียโอกาสในการแข่งขันและความยืดหยุ่นในการปรับตัว

 

ซึ่งจากงานวิจัยของ McKinsey พบว่า 87% ของ CEO กำลังเผชิญหรือคาดการณ์ว่าจะเกิด Capabilities Gaps ในองค์กรของตน” (McKinsey, 2023)

 

 

  1. ขาดการ Track เรื่อง Talent Development อย่างเป็นระบบ

หาก Manager ขาดการติดตามพัฒนาการเรื่อง Capability ของพนักงานอย่างเป็นระบบ จะทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งการเพิ่ม Productivity และ Performance ของงาน, Employee Retention, และการสร้าง Competitive Advantage จากการพัฒนา Top Talent ในองค์กร

 

ซึ่งจากสถิติของ McKinsey พบว่า องค์กรเพียง 30% เท่านั้นที่มีการติดตามผลเรื่องการพัฒนา Capability อย่างเป็นระบบ (McKinsey, 2023)

 

 

  1. ขาด Common Language ที่เป็นมาตรฐานในการสื่อสารเรื่อง Capability ภายในองค์กร

การขาด Common Language ในการอธิบาย Capability นั้นเป็น Challenge ที่สำคัญต่อการพัฒนาเรื่อง Talent Development ที่มีประสิทธิภาพระหว่าง HR พนักงาน และ Manager ที่นำไปสู่การเข้าใจไม่ตรงกัน ทั้งเรื่อง  Criteria ในการวัดความพัฒนา และการออกแบบแผนการทำ Talent Development ที่ในทุกมิติจะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กร

 

 

  1. ยากในการ Match Capability ระหว่างคนและงาน

การจับคู่ Capability ของพนักงานกับความต้องการของงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องท้าทายสำหรับ Manager การจับคู่ที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่ความไม่พึงพอใจในงานและ Productivity ที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันขององค์กร

 

จากรายงานของ World Economic Forum ระบุว่า ภายในปี 2023 จะมีการสร้างงานใหม่ทั่วโลกประมาณ 70 ล้านตำแหน่ง และภายในปี 2027 งานจะลดลงกว่า 83 ล้านตำอหนาง (World Economic Forum, 2023)

 

แสดงให้เห็นว่า องค์กรต้องมีความสามารถในการปรับตัว อีกทั้งควรนำเรื่อง Capability มาใช้ในเรื่อง Talent Development เพื่อป้องกันเรื่อง Capability Mismatch ที่จะทำให้เกิดผลเสียตามมา

 

 

ส่องแนวทางแก้ไข และโอกาสสำหรับ Manager

 

แม้ว่าการทำ Talent Development จะเป็นความท้าทายที่ซับซ้อน แต่ก็มีแนวทางปฏิบัติที่ดีและโอกาสในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการดังกล่าว

 

1.การสร้างกรอบการทำงานด้านทักษะที่เป็นมาตรฐาน

การจัดทำกรอบการทำงานด้านทักษะที่เป็นมาตรฐานจะช่วยสร้าง Common Language ในการอธิบายและสื่อสารเกี่ยวกับทักษะ ซึ่งจะช่วยลดช่องว่างในการสื่อสารและเพิ่มประสิทธิภาพในการระบุช่องว่างด้านทักษะและจับคู่ทักษะกับความต้องการของงาน

 

2.การนำ Technology มาใช้ในการประเมินและติดตามเรื่อง Capability เพื่อเพิ่มความเร็ว และความยืดหยุ่น

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) สามารถช่วยองค์กรในการประเมินและติดตามทักษะของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบเหล่านี้สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ Capability Gap และความก้าวหน้าในการพัฒนา Capability ซึ่งจะช่วยให้ Manager สามารถวางแผนและนำเรื่อง Talent Development มาทำให้เกิดขึ้นจริง เพื่อพัฒนา Talent ได้อย่างตรงจุดมากขึ้น

 

3.การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร

เป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการทำ Talent Development ที่ Manager ควรสนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การให้โอกาสเรื่องความเจริญก้าวหน้าในสายอาชีพและการชมเชยพนักงานที่มีผลงานดีเด่นก็เป็นวิธีที่ดีในการสร้างแรงจูงใจและรักษา Talent ไว้กับองค์กร

 

ตัวอย่าง Case Study: Schneider Electric

Schneider Electric เครือบริษัทมหาชนข้ามชาติในสหภาพยุโรปผู้ผลิตอุปกรณ์ทางไฟฟ้า ที่มีอายุกว่า 175 ปี ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการการทำ Talent Development มาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ

กว่า 47% ของพนักงานที่ลาออกจากองค์กร เพราะมองไม่เห็น Career Opportunities จากภายใน

 

จึงได้นำเสนอ Technology ชื่อ “Internal Open Talent Market” ซึ่งพนักงานสามารถ Upload เกี่ยวกับ Profile, Capability, Expertise, Goal และ AI จะทำการจับคู่พนักงานกับโอกาสในการพัฒนาและความก้าวหน้าในสายอาชีพที่เหมาะสมกับทักษะและความสนใจ

 

ระบบนี้ช่วยให้ Schneider Electric สามารถรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพไว้ได้ดีขึ้น เนื่องจากพนักงานสามารถมองเห็นเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพภายในองค์กรได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้บริษัทสามารถระบุและจัดสรรทักษะที่มีอยู่ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

Final Thoughts เรื่อง Talent Development กับ Manager

 

การทำ Talent Development เป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับ Manager ในยุคปัจจุบัน การระบุช่องว่างด้านทักษะ การติดตามความก้าวหน้า การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และการจับคู่ทักษะกับความต้องการของงานล้วนเป็นประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไข อย่างไรก็ตาม การนำแนวทางปฏิบัติที่ดีและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสมจะช่วยให้องค์กรสามารถพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพไว้กับองค์กร

 

การลงทุนในการทำ Talent Development จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร ดังนั้น Manager จึงควรให้ความสำคัญกับการทำ Talent Development อย่างจริงจังและวางแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำ Technology มาช่วยเรื่อง Talent Development สามารถติดต่อได้ที่ช่องทางด้านล่าง

 

#PWG #PragmaandWillGroup #HRTheSeriesPWG #TalentDevelopment #Manager #Business #Organization #Talent #องค์กร #HR #TalentManagement

 

 

McKinsey & Company. (2023). Reimagining people development to overcome talent challenges. Retrieved from McKinsey & Company

 

ติดตาม Pragma and Will Group ได้ที่