Casual Collision หรือการทำให้พนักงานเจอกันโดยบังเอิญ คืออะไร ทำไมองค์กรระดับโลกต้อง Design แบบนี้
October 4, 2024
โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group
แชร์บทความนี้
ในยุคที่มีการทำงานแบบ Hybrid และ Remote มากขึ้น ผู้คนกลับรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวไปโดยปริยาย ซึ่งอาจนำไปสู่การมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง
ทางที่น่าสนใจ และบางองค์กรนำ Concept นี้มาใช้โดยไม่รู้ตัว คือ ‘Casual Collision’
ก่อนจะเริ่มเราอยากชวนทุกคนคิดกันก่อนว่า
“ทุกคนเคยลองสังเกตกันไหม ว่าเราจะเจอเพื่อนต่างแผนกที่ไหนและเวลาไหนบ้างในการทำงานแต่ละวัน?”
บางคนอาจตอบว่า ตามโรงอาหาร ตามร้านกาแฟ ตามห้องน้ำ ตามห้องประชุม หรือบางคนอาจตอบว่า ไม่เคยเจอเลย นอกจากต้องนัดเจอกันจริงจัง
แล้ว Concept ของ Casual Collision คืออะไร ?
Casual Collision เป็นคำที่ใช้กันใน Silicon Valley หมายถึง การเจอกันโดยบังเอิญตามสถานที่ต่าง ๆ ในออฟฟิศ
เช่น โรงอาหาร ที่ชงกาแฟ หรือส่วนของ Common Space ในองค์กร
ซึ่งการเจอกันนี้จะนำไปสู่ Small Talk และถามไถ่เรื่องทั่วไป หรือชีวิตในวันหยุดสุดสัปดาห์ หรืออาจคุยไปถึง โปรเจคใหม่ที่กำลังทำร่วมกันระหว่างแผนก
การที่เราได้คุยกับผู้คนต่างแผนกแบบบังเอิญเช่นนี้ มักจะเกิด Idea หรือ การแก้ปัญหา เรื่องต่าง ๆ ที่เราคาดไม่ถึง เพราะไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่กดดัน หรือจำนวนคนร่วมประชุมจำนวนมาก จนไม่สามารถจะออกความเห็นได้
ทำให้หลายองค์กรใน Silicon Valley นำ Concept นี้ มาใช้ในการออกแบบเป็น Open-Plan Office Space เพื่อสนับสนุน Collaboration และ Creativity จากการพบเจอกันของคนต่างแผนก
การพบเจอกับผู้อื่นโดยบังเอิญจะทำให้เกิดการพูดคุยที่หลากหลาย ได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ ที่จะนำไปพลิกแพลง กับการทำงานได้
ลองนึกดูว่าหากเราเจอแต่คนเดิม ๆ มีแนวคิดแบบเดิม ความรู้แบบเดิม ๆ ตัวเราก็จะได้วิธีการ แก้ปัญหาแบบเดิม แต่หากคุณได้เจอกับคนใหม่ ได้เห็นแนวคิดใหม่ เราก็อาจพบเจอวิธีการแก้ไขปัญหาแบบอื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่าก็เป็นได้
ตัวอย่างองค์กรชั้นนำ ที่นำ Idea ของ Casual Collision มาใช้ในการออกแบบ Office
Google ออกแบบ Open-Plan Layout เพื่อสนับสนุนการพบเจอกันโดยบังเอิญของพนักงาน
Google เป็นองค์กรที่ขึ้นชื่อเรื่องการออกแบบออฟฟิศแบบ Casual Collision โดยมี Iconic Campus คือ Googleplex ที่มีดีไซน์แบบ Open-Plan Layout, มีพื้นที่ส่วนกลางจำนวนมาก และ Employee Centric Amenity ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้พนักงานต่างแผนกได้มี Knowledge Sharing กัน ดังรูปด้านล่าง
หลาย ๆ คนมักกล่าวว่า ไอเดียที่ดี มักไม่ได้มาจากการนั่งคิดเฉย ๆ อยู่ที่โต๊ะทำงาน
แต่มักเกิดจากการ ‘Bouncing Around The Office’ และการได้มีปฏิสัมพันธ์กับพนักงานคนอื่น ๆ เพราะได้เห็น Perspective ที่แตกต่างกัน
เช่น พนักงานฝ่าย Marketing อาจรู้ลึกเกี่ยวกับการทำการตลาด คิดกลยุทธ์การขาย ตาม Product Information ที่ได้รับมา แต่จริง ๆ แล้ว หากมีโอกาสได้ลองคุยกับฝั่ง Technology อย่างเป็นกันเอง อาจเจอ Feature ที่น่าดึงดูดกว่าที่เคยมี เพื่อนำไปทำการตลาดต่อก็เป็นได้
หลายองค์กรชั้นนำได้นำ Concept ของ Casual Collision มาใช้ในการออกแบบ เช่น
Facebook Headquarter – California’s Menlo Park
Mark Zuckerberg กล่าวว่า การออกแบบจะเน้นเรื่อง ‘The largest open floor plan in the world’ สำหรับรวมพนักงานหลายพันคนภายในพื้นที่นั้นได้ เพื่อให้เกิด Collaboration ระหว่างกัน ดังรูปด้านล่าง
HubSpot Headquarters – Cambridge
HubSpot มี ‘Collaborative Cafe’ ดังรูปด้านล่าง โดยมีการต่อเติมขนาดของ Café และ Kitchen Area ถึง 2 เท่า เพื่อให้พนักงานได้มีพื้นที่ในการนั่งพูดคุยกัน โดยภายใน Collaborative Cafe จะมี Tea Kiosk และขนมต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงานที่มาใช้พื้นที่
ประโยชน์สำคัญของ Casual Collision หรือ การเจอกันโดยบังเอิญของพนักงาน
-
Enhanced Collaboration – เกิดการร่วมมือกันอย่างเป็นธรรมชาติ
Casual Collision มักนำไปสู่การสนทนาที่เกิดขึ้นอย่างสบาย ๆ มันสามารถนำไปสู่ Idea ใหม่ที่ทำให้เกิดนวัตกรรมต่าง ๆ หรือการต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ เนื่องจากพนักงานได้แบ่งปันข้อมูล และมุมมองที่อาจไม่ได้พบในสภาพแวดล้อมที่เป็นทางการ หรือสภาพแวดล้อมที่กดดัน
-
Stronger Relationships – มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมองค์กร
ช่วยสร้างความไว้วางใจ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน เมื่อพนักงาน มีการคุยแบบกันเอง ไม่เครียดได้รู้จักกันมากขึ้น เช่น ชอบทำอะไรเวลาว่าง ชอบดูหนังเรื่องอะไร ทำให้ความสัมพันธ์ในการทำงานเพิ่มสูงขึ้น
-
Increased Employee Engagement – สร้างความเป็นส่วนร่วมในองค์กร
พนักงานที่รู้สึกสนิทกับเพื่อนร่วมงานและองค์กร มีแนวโน้มที่จะมีแรงจูงใจและมุ่งมั่นต่อการทำงานมากขึ้น ซึ่งสามารถส่งผลให้ความพึงพอใจในงานสูงขึ้นและอัตราการลาออกที่ต่ำลง เนื่องจากความรู้สึกในการทำงานมีความสบายใจมากขึ้น และได้รู้จักเพื่อน ๆ ร่วมงานมากกว่าตอนทำงานเพียงอย่างเดียว
-
Attract Top Talent – สร้าง Employer Branding ที่น่าสนใจ
Talent ในปัจจุบัน มีความต้องการหลากหลาย ซึ่งสิ่งที่ส่วนใหญ่มองหา คือ การได้ Networking กับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งการออกแบบออฟฟิศแบบ Casual Collision เป็นการสร้างโอกาสในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Talent และคนที่มีความรู้ในสายต่าง ๆ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และโอกาสในการเติบโตในอนาคต
องค์กรและฝ่าย HR สามารถทำให้เกิด Casual Collision ได้อย่างไร
-
ออกแบบ Common Space อย่างรอบคอบ
พื้นที่ส่วนกลางของบริษัทสำคัญมากกว่าที่เราคิด การที่บริษัทมีพื้นที่ Common Space หรือพื้นที่ส่วนกลาง ให้กับพนักงานเพื่อเป็นพื้นที่พักผ่อน และผ่อนคลายความเครียด ให้ทุกคนได้พบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นในแต่ละวัน จึงต้องคิดอย่างรอบคอบ
บางทีอาจไม่ต้องลงทุนเพิ่ม แต่เพียงจัดพื้นที่กดน้ำดื่มให้ครอบคลุมพื้นที่ที่เราอยากให้พนักงานมาอยู่รวมกัน หรือเปลี่ยน Layout การนั่งทำงานเป็นแบบ Hot Desking เพื่อให้พนักงานเวียนเปลี่ยนที่นั่งกันไปเรื่อย ๆ มีโอกาสให้ได้รู้จักคนอื่น ก็ถือว่าเป็นการสร้าง Casual Collision ในองค์กรแล้ว
-
จัดกิจกรรมภายในองค์กรเป็นครั้งคราว
องค์กรอาจจัดกิจกรรมที่เกี่ยว/ ไม่เกี่ยวกับงานที่ทำอยู่เพื่อ Foster ให้พนักงานมาใช้เวลาร่วมกันได้ เช่น การเลี้ยงอาหารพนักงาน การจัดกิจกรรมสันทนาการ เพื่อให้พนักงานได้พูดคุยกัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากต่างแผนกได้อย่างเป็นกันเอง
หรือ อาจเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้องานที่ทำอยู่ เช่น มี Innovation Day แล้วจับกลุ่มพนักงานต่างแผนกให้มาคิดโปรเจคร่วมกัน เป็นต้น
Final Thoughts เกี่ยวกับ Casual Collision ของพนักงาน
‘Casual Collision’ หรือ การส่งเสริมให้พนักงานเจอกันโดยบังเอิญภายในออฟฟิศ เพื่อสนับสนุนให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ และการพูดคุยที่เป็นกันเอง เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ Collaborative ผ่านการออกแบบ Office Space และการจัดวาง Element ต่าง ๆ ภายใน เช่น โซนกดน้ำ, Snack Bar, Common Space, ฯลฯ
เป็น Concept ที่องค์กรชั้นนำหลายที่นำไปใช้ ผ่านการออกแบบ Office Space แบบ Open Floor ไม่มีฉากกั้น สร้างพื้นที่ส่วนกลางให้ใหญ่ขึ้น และสิ่งอำนวยความสะดวกในการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง เช่น บอร์ดเกม โต๊ะปิงปอง เป็นต้น จึงเป็น Concept ที่น่าสนใจสำหรับองค์กรรุ่นใหม่ ที่ต้องการนวัตกรรมใหม่ ๆ จากพนักงานภายในองค์กร
#PragmaandWillGroup #HRTheSeriesPWG #CasualCollision #EmployeeEngagement #EmployeeExperience #CommonSpace #OfficeDesign #Organization #Innovation #Networking
Reference:
Common Impact. (2024). Redefining workplace engagement from casual collision to conscious connections. สืบค้นจาก Common Impact
ติดตามบทความที่เกี่ยวข้อง
- 4 days work week หรือทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ pilot program ที่หลายองค์กรกำลังจับตามอง Read More
- Bare Minimum Monday หรืออาการไม่อยากทำงานในวันจันทร์ มีจุดเริ่มต้น และอาการอย่างไรบ้าง Read More
- Organizational Culture คืออะไร? ความสำคัญและการนำไปใช้จริงในองค์กร Read More