ถอดรหัส 5 ตัวอย่างคนรุ่นใหม่ ที่มี Visionary Mindset

July 27, 2023

โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

อะไรคือ Visionary Mindset? ทำไมองค์กรต้องการคนแบบนี้?

 

Visionary Mindset คือ การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน รู้ว่าตนเองต้องการอะไร และต้องทำอะไรไปสู่ Vision นั้น การที่องค์กรมีคนพวกนี้เป็นผู้นำ เหมือนเป็นสัญญาณว่าจะมีภาพอนาคตที่ชัดเจน สามารถเห็นโอกาสใหม่ ๆ กล้าคิด กล้าต่าง กล้าทดลอง และพร้อมสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ตรงกับวิสัยทัศน์ของตนเองและองค์กรในอนาคต

 

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น จึงขอยกตัวอย่างคนรุ่นใหม่ ที่มี Visionary Mindset ดังรูป บุคคลเหล่านี้ สามารถสร้างความแตกต่างของธุรกิจกับคู่แข่งได้อย่างโดดเด่น

Young Visionary Mindset

 

เช่น Daniel Ek, Co-founder ของ Spotify ที่เคยประสบความสำเร็จตั้งแต่วัยรุ่น แต่กลับใช้เงินแบบไม่ได้วางแผน จนชีวิตเข้าสู่ช่วงยากลำบาก 

แต่สิ่งที่ทำให้เขาเป็นหนึ่งใน Co-founder ของ Spotify ได้ เพราะเขามีใจรักในเสียงดนตรี และรู้สึกว่าวงการเพลงกำลังถอยหลังลงเรื่อย ๆ เพราะไม่มี Platform ให้ฟังอย่างเปิดกว้างเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้ เขาจึงก่อตั้ง Spotify เพราะต้องการส่งมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าในการฟังเพลงให้กับผู้คนอย่างถูกลิขสิทธิ์ และมี AI ที่คอยแนะนำเพลง หรือรายการ ที่ถูกใจผู้ฟังแต่ละคน ทำให้มียอดผู้ใช้แบบ Premium เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งในมุมฝั่งผู้ผลิต คือ ศิลปินและค่ายเพลงก็ต้องได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม แถมเป็นอีกหนึ่ง Platform ในการสร้างรายได้อีกด้วย

 

หรือ Emma Chamberlain ยูทูปเบอร์ชื่อดัง ที่โดดเด่นในเรื่อง “ความเรียล” ในการถ่ายทอดตัวตนของเธอผ่านช่อง emma chamberlain ที่มีคนติดตามกว่า 12 ล้านคน เธอสร้างความแตกต่างโดยการไม่ปรุงแต่ง

สร้างความปกติกับความ Imperfect และพูดแสดงออกจากจริงใจ สวนกระแสกับ Aesthetic Vlog หรือ Productive Vlog ของยูทูปเบอร์หลาย ๆ ท่าน การวาง Personal Branding แบบนี้ จึงสามารถสร้างความแตกต่าง และกลายเป็นยูทูปเบอร์ที่โด่งดังในหมู่ Young Generation

 

สร้าง Impact จากการมีวิสัยทัศน์ที่หนักแน่น

 

ผลดีจากการมี Visionary Mindset สามารถแบ่งหลัก ๆ ออกมาเป็น 3 ข้อใหญ่

  1. สร้างภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำ และสามารถโน้มน้าวผู้อื่นได้

จากความเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ของตนเอง แต่มีหลักการคิดและวางแผนอย่างเป็นระบบ สามารถทำให้คนอื่นเชื่อ และมีภาพเป้าหมายเดียวกัน จากการเชื่อมวิสัยทัศน์ของคนที่เกี่ยวข้อง

ถ้าเทียบระหว่าง ผู้นำที่ทำงานไปเรื่อย ๆ ไม่ได้มีภาพเป้าหมายที่ชัดเจน คล้อยไปกับทุกสิ่งเร้าที่เกิดขึ้น กับผู้นำที่มีวิสัยทัศน์หนักแน่น สามารถเชื่อมทุกคนได้ด้วยภาพสุดท้ายเดียวกัน เท่านี้ก็น่าจะเห็นภาพแล้วว่า ผู้นำแบบไหน ที่คนในทีมจะเชื่อมั่นมากกว่า

 

  1. สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และมีความคิดสร้างสรรค์

Visionary Mindset จะไม่จำกัดอยู่ที่ Conventional Way พวกเขากล้าที่จะฉีกกฎเดิม ๆ เพื่ออะไรที่ดีขึ้นหรือแตกต่าง ด้วยความเชื่อแบบนี้ ทำให้คนที่มี Visionary Mindset จะมีไอเดียใหม่ ๆ มองเห็นช่องว่างที่จะสร้างโอกาสในธุรกิจ และมี Big-picture ในการดูความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้อง

 

  1. สามารถสร้าง Impact จากความคิดของตนเองได้

สร้าง Impact ได้จากการที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน และการมุ่งมั่นทำตามแผน หาข้อมูลความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทำความเข้าใจ และสร้างให้เกิดขึ้นจริง เช่น Sam Altman, CEO ของ Open AI ที่สร้าง ChatGPT ขึ้น และสร้างปฏิวัติการเสิร์ชข้อมูล ไปโดยสิ้นเชิง

หรือ Shou Zi Chew, CEO ของ TikTok ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน จากการเสพสื่อวิดีโอยาว ๆ ให้เหลือเพียงไม่กี่วินาที อีกทั้งสร้าง Community ระหว่าง Content Creator ผู้ชม และแบรนด์เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ

 

 

ผลักดัน Visionary Mindset สู่พนักงานในองค์กร 

 

หากองค์กรต้องการผลักดันให้พนักงานมี Visionary Mindset เพื่อให้พนักงานมีการสร้างภาพในอนาคต หรือมุมมองที่แตกต่าง สามารถเริ่มต้นด้วยกิจกรรม ดังนี้

  1. จัด Workshop เกี่ยวกับ Future Thinking

สนับสนุนการคิดนอกกรอบ ได้ลองนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ โดยมุ่งไปที่ภาพอนาคต หรือโอกาสใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ เหมือนเป็นการเติมไฟความคิด ให้พนักงานกล้าที่จะลองผิด ลองถูกในไอเดียของตนเองผ่านการ Workshop 

และได้ Brainstorm กับคนอื่น ๆ เพื่อเพิ่มคลังไอเดียในหัวของพนักงาน

 

  1. มี Mentor คอยนำทางไม่ให้หลง

การมี Mentor ให้พนักงานแต่ละคน เหมือนเป็นไกด์คอยช่วยสนับสนุนให้พนักงานกล้าที่จะเดินตามความเชื่อหรือวิสัยทัศน์ของตนเอง อีกทั้งคอยผลักดันให้พนักงานยังมีไฟ ได้ใช้เวลาฝึกความคิด และทำสิ่งที่นอกเหนือจาก Day-to-day 

 

  1. มอบหมาย Future-Focused Projects ให้กับพนักงาน

ฝึกพนักงานให้มองการณ์ไกล ด้วย Future-Focused Projects เพราะนอกจากจะมีวิสัยทัศน์แล้ว วิสัยทัศน์นั้น ๆ ต้องให้ความสำคัญกับ Long-term view และการลงมือทำจริงด้วย ไม่ใช่มองแค่ 1-2 ปีข้างหน้าเท่านั้น อีกทั้งหมั่นให้ Feedback กับพนักงาน ไม่ให้พนักงานหลงทาง จนไปไม่เป็น แล้วถอยหลังไปที่เดิม

 

  1. สร้าง Role Model ที่ดี หรือมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มาสร้างแรงบันดาลใจ

การสร้างแรงบันดาลใจเป็นสิ่งสำคัญ หมั่นเติมไฟความคิดให้พนักงานเป็นประจำ เพื่อสนับสนุน Visionary Mindset ให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแตกต่างเพื่อโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ

 

องค์กรอาจเริ่มต้นจากฝ่ายที่จำเป็นต้องคิดค้นกลยุทธ์หรือหาโอกาสทางธุรกิจ เช่น ฝ่าย Strategic Planner, Business Development, Customer Experience เป็นต้น เพื่อให้พนักงานไปต่อยอดความคิด และความเข้าใจลูกค้า และสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ทางธุรกิจ

 

ความเชื่อมั่น ความหวัง และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ กับ Visionary Mindset

ในวันที่ธุรกิจหมุนเร็ว ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ทำให้องค์กรต้องการคนที่คิดล่วงหน้าอย่างมีหลักการ และกล้าที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และถือเกมเหนือกว่าในโลกธุรกิจ

 

เพราะฉะนั้น หมั่นปลูกฝังพนักงานให้มี Visionary Mindset โดยการทำความเข้าใจ หรือจะเรียนรู้จากบุคคลตัวอย่าง และสร้างสรรค์กิจกรรมและ Work Environment ที่สนับสนุนความคิดของพนักงาน จะสามารถนำไปสู่การมี Visionary Mindset ที่สามารถผลักดันโอกาสใหม่ ๆ ขององค์กรได้

 

#PWG #Pragmaandwillgroup #Visionarymindset #Mindset

 

ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2566

 

 

 

ติดตามบทความต่อไปที่เกี่ยวข้อง

  • สร้าง Employee Engagement ที่ดีในองค์กร Read More
  • Generation Gap หนึ่งในความท้าทายในที่ทำงาน Read More
  • ทำแผนให้เป็นจริงด้วย Strategy Execution Read More
หากมีข้อสงสัยเรื่อง People & Organization สามารถติดต่อ Pragma and Will Group ได้ผ่านช่องทางด้านล่างนี้

ติดตาม Pragma and Will Group ได้ที่