ปลดล็อกศักยภาพของพนักงาน กับ Talent Development ที่ขับเคลื่อนไปกับกลยุทธ์ธุรกิจ

April 12, 2024

โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

ทำไมการทำ Talent Development จึงต้องเป็นมากกว่าการฝึกอบอรมให้สอดคล้องกับข้อกำหนดเท่านั้น?

 

ในโลกธุรกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง การพัฒนาบุคลากรไม่ได้มุ่งเน้นแค่การฝึกอบรมเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายเท่านั้น แต่ยังต้องสอดคล้องกับเป้าหมายเชิง

กลยุทธ์ขององค์กรและช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง ซึ่งจะขับเคลื่อน Talent Development ให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

 

ในอดีต Talent Development มักจะมุ่งเน้นไปที่การฝึกอบรมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบและความปลอดภัย หรือเรียกว่า Compliance-based Training แต่ในปัจจุบัน บริษัทชั้นนำได้เปลี่ยนมุมมองและให้ความสำคัญกับ Talent Development ในฐานะกลยุทธ์ที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ พวกเขาตระหนักดีว่าการลงทุนในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานจะส่งผลให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน

 

การจัดทำกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวขององค์กร รวมถึงทักษะและความสามารถที่จำเป็นสำหรับพนักงานในการบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ด้วยการวิเคราะห์ Capability Gaps ของพนักงาน และ Design การฝึกอบรมให้เหมาะสมกับพนักงานแต่ละกลุ่ม และสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ เพื่อให้องค์กรสามารถเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานเพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคต

 

Talent Development จาก capability

 

Talent Development สามารถส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรงได้อย่างไร?

 

Talent Development ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง ซึ่งส่งเสริมนวัตกรรมและความผูกพันของพนักงาน เมื่อพนักงานรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนในการเติบโตและพัฒนาในสายอาชีพ จะมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมและมีความมุ่งมั่นในการทำหน้าที่ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้ Productivity และ Job Satisfaction ในการทำงานเพิ่มขึ้น

 

ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรต้องวางแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพไว้กับองค์กร

 

 

แล้วองค์กรจะทำ Talent Development ได้อย่างไร?

 

1.ทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์ขององค์กร เพื่อวางแผน Talent Development ได้ตรงจุด

 

ก่อนที่จะวางแผนกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากร องค์กรต้องทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักขององค์กรเสียก่อน เพราะการพัฒนาบุคลากรจะต้องสอดคล้องและสนับสนุนเป้าหมายเหล่านั้น

เช่น หากองค์กรของคุณมีแผนที่จะขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศ คุณอาจต้องพัฒนาทักษะด้านภาษาและความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างของพนักงาน หรือหากคุณวางแผนที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ในองค์กร คุณอาจต้องฝึกอบรมพนักงานให้มีทักษะด้านดิจิทัลที่จำเป็น

 

การทำความเข้าใจกับวัตถุประสงค์ขององค์กรจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดสิ่งที่พนักงานต้องเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างชัดเจน และวางแผนการทำ Talent Development ที่ตรงประเด็น

 

 

2.ระบุช่องว่างด้านทักษะและโอกาสในการพัฒนา

 

การประเมินทักษะและความสามารถของพนักงานในปัจจุบัน เพื่อระบุช่องว่างระหว่างทักษะที่มีอยู่กับทักษะที่ต้องการสำหรับการบรรลุเป้าหมายขององค์กร

 

นอกจากนี้ ยังควรพิจารณาถึงทักษะที่จำเป็นสำหรับงานในอนาคตด้วย เนื่องจากเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทักษะที่จำเป็นในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอสำหรับการทำงานในอนาคต

 

3.เปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

 

Talent Development ไม่จำเป็นต้องทำการฝึกอบรมแบบเป็นทางการเท่านั้น แต่การทำ On-the-job training, Mentorship program, Coaching, E-learning, Self-learning ฯลฯ ก็สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ได้

เพียงแต่ต้อง “รู้ และเข้าใจ” แนวทางในการพัฒนาพนักงานแต่ละคน นั่นคือการ “รู้ และทำความเข้าใจ Capability Gaps” และ “ออกแบบแนวทางการทำ Talent Development” ให้ตรงจุดอย่างมีประสิทธิภาพ

 

4.สร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดวงจรชีวิตการทำงานของพนักงาน

 

ในช่วงแรกของการเริ่มงาน พนักงานใหม่อาจได้รับการแนะนำและฝึกอบรมเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบในงาน รวมถึงวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร เมื่อพนักงานมีประสบการณ์มากขึ้น อาจได้รับโอกาสในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเลื่อนตำแหน่งหรือโอนย้ายไปทำงานในสายงานอื่น

 

การมีโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องจะช่วยรักษาพนักงานที่มีศักยภาพให้อยู่กับองค์กร และเพิ่มความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร

 

5.จัดทำแผนพัฒนารายบุคคล หรือ IDP

 

แม้ว่าการพัฒนาบุคลากรจะมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ขององค์กร แต่ก็ไม่ควรมองข้ามความต้องการและเป้าหมายส่วนบุคคลของพนักงานแต่ละคน องค์กรควรจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) ที่สอดคล้องกับทั้งความต้องการขององค์กรและความสนใจของพนักงาน

 

แผนพัฒนารายบุคคลจะระบุถึงจุดแข็ง จุดอ่อน และโอกาสในการพัฒนาของพนักงานแต่ละคน รวมถึงกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม ทั้งนี้ ควรมีการทบทวนและปรับปรุงแผนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และความต้องการที่เปลี่ยนไป

 

6.สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

 

วิธีการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้มีหลากหลาย เช่น การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างพนักงาน การให้รางวัลกับพนักงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หรือการสื่อสารถึงความสำคัญของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องผ่านผู้นำระดับสูงขององค์กร

 

นอกจากนี้ การพัฒนาเรื่อง Coaching การฝึกอบรม Manager ให้มีความสามารถในการทำ Talent Development ในองค์กรก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะเป็นบุคคลที่สื่อสารโดยตรงกับพนักงาน และสร้างระบบการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงให้เป็นระบบ เทียบกับเป้าหมายที่มุ่งหวังไว้

 

องค์กรระดับโลกมีแนวทางการทำ Talent Development กันยังไง?

 

เคยสงสัยไหมว่าทำไมองค์กรชั้นนำจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรมากขนาดนี้?

 

เช่น Adobe ได้เสนอหลักสูตร on-demand ให้กับพนักงาน เพื่อให้พวกเขาสามารถพัฒนาทักษะที่หลากหลาย และยังให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับการศึกษาอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากที่องค์กรเสนอ จำนวน 10,000 USD ต่อปีสำหรับ Long-term course และ 1,000 USD ต่อปีสำหรับ Short-term course

 

นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรม “Accelerate Adobe Life” ซึ่งเป็นโปรแกรมการให้ Feedback ช่วยให้พนักงานใหม่และพนักงานปัจจุบันสามารถเลือก Area ที่ต้องการรับการสนับสนุนในการพัฒนาได้

 

ผลลัพธ์จากการทำ Talent Development ของ Adobe คือ

องค์กรมีการจ้างงานภายในกว่า 33% และมี Annual Promotion Rate อีก 20%

อีกทั้งได้คะแนนความพึงพอใจโดยรวม 4.3 เต็ม 5 ซึ่งถือว่าสูงทีเดียว

 

 

ทิ้งท้าย

 

ในการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากร สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และทิศทางขององค์กร ระบุโอกาสในการพัฒนาทักษะ (Upskilling) และการพัฒนาทักษะใหม่ (Reskilling) จากการเข้าถึง Capability Gap ของพนักงาน ออกแบบวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การฝึกอบรมผู้จัดการให้สนับสนุนความพยายามในการพัฒนาบุคลากรและการสร้างแผนพัฒนาภาวะผู้นำ ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ

 

สุดท้ายนี้ การติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้แผนการพัฒนาบุคลากรประสบความสำเร็จ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการวัดผลเทียบกับเป้าหมายด้านประสิทธิภาพ จะช่วยให้คุณมี Insight เกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน และช่องว่างของกลยุทธ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างเหมาะสม

 

 

Talent Development ได้เปลี่ยนจุดเน้นจาก Compliance-based training ไปสู่การสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในเชิงบวก ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรให้ก้าวหน้า

 

ดังนั้น องค์กรจึงต้องมีเครื่องมือช่วยในการ เข้าถึงและพัฒนา Capability และ Cultural Fit ของพนักงานอย่างเหมาะสม เพื่อสร้าง Talent Development ที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาได้อย่างตรงจุด และตรงตามเป้าหมายขององค์กร พร้อมสู่การทำงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

 

#PWG #PragmaandWillGroup #HRTheSeriesPWG #TalentDevelopment #Capability #CapabilityGap #Culture #Organization #LearningandDelopment #Talent #Employee #HR #Business

 

 

Talent Development 101: Strategy & Examples for Your Business, AIHR Digital. https://www.aihr.com/blog/talent-development/

 

 

ติดตามบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ด้านล่าง

  • 5 HR Trends ปี 2024 ที่น่าจับตามองในประเทศไทย Read More
  • Transformative Capability ที่สำคัญในโลกปี 2030  Read More
  • 5 Capability ที่ต้องจับตามองสำหรับคนวัยทำงาน Read More
หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้เพิ่มเติมที่ช่องทางด้านล่าง

ติดตาม Pragma and Will Group ได้ที่