สำรวจ Future of Work ปี 2025 เมื่อ AI มาแรง – ต้องแย่งชิง Talent – ความยืดหยุ่นในการทำงานเพิ่มขึ้น
November 1, 2024
โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group
แชร์บทความนี้
ภูมิทัศน์ของการทำงานกำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งขับเคลื่อนโดยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และพลวัตทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรับรู้ถึง Future of Work หรือ อนาคตของการทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อม และทำความเข้าใจแนวโน้มต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
เราขอนำเสนอแนวโน้ม Future of Work ในปี 2025 จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และจากการวิเคราะห์ ดังนี้
-
หมั่นพัฒนาทักษะและเรียนรู้เรื่องใหม่ – กุญแจสำคัญสู่การเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต
เนื่องจาก AI หรือปัญญาประดิษฐ์ เข้ามามีบทบาทอย่างมากในด้านการทำงานในปัจจุบัน ทำให้เรื่องการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น
บางบทบาทอาจถูกแทนที่ บางบทบาทได้รับประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสใหม่ ๆ กำลังจะเกิดขึ้นเช่นกัน
ดังนั้น องค์กรที่สามารถสร้างภาพลักษณ์เรื่อง การให้โอกาสในการเรียนรู้ จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพ
ในฐานะตัวบุคคล การสร้าง Lifelong learning mindset จะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้าง Resilience ในอาชีพ และเปิดโอกาสให้ตนเองอย่างต่อเนื่อง
-
ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ – สร้าง Work productivity และสมดุลชีวิต
93% ของพนักงานที่อยู่ในโครงการทดลองทำงาน 4 วันต่อสัปด์ ต้องการให้เปลี่ยนเป็นรูปแบบนี้ถาวร
และที่น่าสนใจคือ การเปลี่ยนรูปแบบมาทำงานแบบ 4 วันต่อสัปดาห์ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการเดินทางถึง 50%
การออกนโยบายให้ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ หรือการท้าทายรูปแบบการทำงานแบบเดิม ๆ ที่ทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นโครงการที่องค์กรชั้นนำหลาย ๆ ที่ได้ลองนำมาใช้แล้วเห็นผลในทางเดียวกันว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และทำให้ความเครียดของพนักงานลดลง
การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ชี้ให้เห็นว่า ชั่วโมงการทำงานที่เข้มข้น แต่ได้เวลาพักผ่อนที่ยาวนานขึ้น สามารถรักษา Work productivity และสร้างประสบการณ์ที่ดีของพนักงานได้
-
Gig Economy 2.0 – สร้างเส้นทางอาชีพ และโอกาสใหม่ในการทำงาน
Gig economy หรือ การจ้างงานแบบครั้งคราว ตามสัญญาที่ตกลงไว้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสร้างประโยชน์ทั้งฝั่งนายจ้าง และลูกจ้าง
Gig economy จะยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีหน้า และ สามารถดึงดูดเหล่า Talent ได้จากการเปิดโอกาสให้พนักงานมีอำนาจในการตัดสินใจในเนื้องานเอง ความยืดหยุ่น และความอิสระในการทำงาน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้นเรื่อย ๆ
จากสถิติของ Rallyware พบว่า Gig economy จะยังมีแนวโน้มเติบโตเรื่อย ๆ ถึง 50% ของเศรษฐกิจ ในปี 2027
ในด้านองค์กร หากต้องการดึงดูดคนเหล่านี้ ต้องปรับตัว และมุ่งสร้างโอกาสหรือโปรเจคที่รองรับการทำงานในรูปแบบนี้ได้ และที่สำคัญ ต้องรักษา Talent เหล่านี้ ในภูมิทัศน์การทำงานที่ไร้พรมแดนในปัจจุบัน
-
ความร่วมมือระหว่าง Human & Machine – ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานขึ้น
บทบาทของ AI ในโลกธุรกิจมีอิทธิพลขึ้นมาก ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือแทนที่งานบางอย่าง อีกทั้งปลดล็อคโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ ที่สร้างนวัตกรรมและขับเคลื่อนอนาคต
AI สามารถเพิ่ม Human Capability และเป็นคู่หูในการระดมความคิดสร้างสรรค์ได้ ทำให้ควรเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการนำ AI มาใช้งาน เพื่อยกระดับผลงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น เรียนรู้การป้อนคำสั่ง หรือเครื่องมือ AI ที่เหมาะกับงานแต่ละแบบ เป็นต้น
การทำงานในปัจจุบัน AI สามารถช่วยปลดล็อกโอกาสใหม่ได้ และช่วยทำงานที่ซ้ำซ้อน มีรูปแบบชัดเจน เพื่อแบ่งให้คนมีเวลาในการคิดเชิงกลยุทธ์มากขึ้น
-
ผู้นำแบบ Human-Centric – จากแจกแจงงานเพียงอย่างเดียว สู่การพัฒนา Talent และ Team
ผู้นำที่จะเป็นที่ต้องการ คือ ผู้นำที่สามารถสร้าง Connection รู้แนวทางการให้คำปรึกษาทางอาชีพ และสร้างทีมที่เหนียวแน่นกลมกล่อม ขับเคลื่อนผลงานในองค์กรได้
เนื่องจากสามารถผลักดันผลลัพธ์การทำงานได้ และสร้างสมดุลในองค์กร อีกทั้งสามารถดึง Capability ของแต่ละคนออกมาได้ จากการมีการพูดคุยแบบ One-on-one และมีวิธีการคุยจากข้อมูล Capability อย่างมีหลักการ ให้พนักงานสามารถพัฒนาตัวเองได้
บทบาทของผู้นำแบบ Human-Centric จำเป็นต้องมีคุณสมบัติเรื่อง ความเห็นอกเห็นใจ การอำนวยความสะดวกในการทำงาน และมุ่งเน้นพัฒนาพนักงาน
ผู้นำที่สามารถปรับตัวได้เช่นนี้ จะเพิ่มความสำคัญขึ้น เพราะมีเรื่อง Emotional Connection ที่ AI หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ยังไม่สามารถทดแทนได้สมบูรณ์
-
สร้างความ Immersive – ในการทำงานออนไลน์
ในปี 2568 “นอกสำนักงาน” จะถูกกำหนดใหม่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์แบบ Immersive สภาพแวดล้อมเหล่านี้ ซึ่งรวมเอา VR และ AR ช่วยให้การทำงานร่วมกันราบรื่นโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งทางกายภาพ พวกเขาเปลี่ยนแปลงทุกแง่มุมของชีวิตการทำงาน ตั้งแต่การประชุมแบบไดนามิกไปจนถึงการฝึกอบรมแบบ Immersive และการสร้างทีม
ในขณะที่วิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ของ “เมตาเวิร์ส” อาจจางหายไป แต่แนวคิดหลักของมันกำลังค้นหาการใช้งานจริงในแพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นการทำงาน แนวโน้มนี้ถูกกำหนดให้กำหนดการทำงานระยะไกลใหม่ ผสมผสานประโยชน์ของการโต้ตอบแบบตัวต่อตัวกับความยืดหยุ่นแบบดิจิทัล
การผสมผสานเทคโนโลยี VR และ AR ช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ ตั้งแต่การประชุม ไปจนถึงการฝึกอบรมพนักงาน การทำกิจกรรมสร้างเสริมความเป็นทีม เป็นต้น
ทำให้เรื่อง Work-Focused Platform ยังคงอยู่ เพื่อสนับสนุนการทำงานระยะไกล และผสมผสานประโยชน์ของการโต้ตอบแบบตัวต่อตัวทางดิจิทัล
-
บทบาทที่เพิ่มขึ้นของ AI – ในงานด้านทรัพยากรบุคคลหรือ Human Resource
การบูรณาการ AI กับเรื่อง HR กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ หรือบางอย่างอาจเพิ่มคุณภาพได้ในเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่อง Recruitment, Performance Management, Employee Engagement, Talent Development เป็นต้น
อีกทั้ง ในระหว่างที่ AI จัดการงานที่อาศัยความซ้ำซ้อน มีรูปแบบที่ชัดเจน คน HR ก็สามารถใช้เวลาในเรื่องเชิงกลยุทธ์มากขึ้น ทำให้มุ่งเน้นการขับเคลื่อนทิศทางหลักขององค์กร และเตรียมความพร้อมของทรัพยากรปัจจุบันและอนาคต
แผนกทรัพยากรบุคคลที่ประสบความสำเร็จจะใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ไม่ใช่แทนที่ เพราะยังต้องอาศัยความเป็นมนุษย์ในการตัดสินใจ และสร้างปฏิสัมพันธ์อยู่
-
การให้ความยืดหยุ่นในการทำงาน – จะกลายเป็น New Normal
แทบทุกองค์กรหันมาโปรโมทเรื่อง การทำงานที่ยืดหยุ่น ไม่จำเป็นต้องเข้าสำนักงานทุกวัน (ในเนื้องานที่สามารถทำงานแบบ Hybrid ได้) ทำให้หากองค์กรใดไม่ยอมปรับ จะเสียโอกาสในการได้ Talent ดี ๆ ไป
การทำงานในรูปแบบ Hybrid กลายเป็น ‘Default’ ใน Skilled Role ทำให้พนักงานสามารถจัดสรรเวลาในการทำงาน และใช้ชีวิตได้อย่างอิสระมากขึ้น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามช่วงเวลาที่ตนเองสามารถดึงศักยภาพสูงสุดออกมาได้
ในด้านขององค์กรที่นำรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid มาใช้ โจทย์ถัดไป คือ จะสร้าง Engagement หรือสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงานกับองค์กรและเพื่อนร่วมงานได้อย่างไร เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรและพนักงานไว้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจับตามองต่อไป
แนวโน้มทั้ง 8 ข้อด้านบน เป็นเพียงการคาดการณ์จากสถานการณ์ทางธุรกิจ และเทรนด์ในปัจจุบัน สำหรับการเตรียมพร้อมเข้าสู่ปี 2025 นอกจากนี้ จึงขอต่อยอดเกี่ยวกับ Skill หรือ ทักษะ ที่สำคัญในปี 2025
มี Future Skill ทั้งหมด 5 ทักษะ ที่ควรจับตามอง และพัฒนาให้พร้อมสู่ปี 2025 ที่กำลังจะถึงนี้
-
ความรู้ด้านดิจิตอลและความเชี่ยวชาญด้านข้อมูล
เนื่องจากอุตสาหกรรมทุกแห่งกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล พนักงานที่สามารถทำงานในแพลตฟอร์มดิจิตอลและมีความสามารถในการทำงานกับข้อมูลจะเป็นที่ต้องการขององค์กร
เพราะ Digital Literacy จะไม่ใช่โบนัสอีกต่อไป แต่จะเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนต้องรู้
อีกทั้งองค์กรต้องการพนักงานที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์อ้างอิง ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาด การเงิน หรือการดำเนินงาน
-
มีความคิดสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม
ในปัจจุบัน AI เข้ามามีบทบาทอย่างมากในโลกธุรกิจ ทำให้เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ และคิดเชิงนวัตกรรมในการริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ จะเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจาก AI ได้
องค์กรจะมองหาคนที่สามารถริเริ่มไอเดียใหม่ ๆ และใช้ต่อยอดเชิงธุรกิจได้ เช่น ในด้านการตลาด การออกแบบ หรือเรื่องเชิงกลยุทธ์ เป็นต้น
ดังนั้น ในมุมมองขององค์กร ต้องหมั่นส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างความแตกต่าง และสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
-
มีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ Emotional Intelligence (EI)
เมื่อรูปแบบการทำงานเป็นรูปแบบ Hybrid และกระจายตัวมากขึ้น Emotional Intelligence จะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานร่วมกันและการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
องค์กรจำเป็นต้องอาศัยผู้นำ หรือพนักงานที่มี Emotional Intelligence สูง ในการรับมือกับความขัดแย้ง และส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวก ถึงแม้จะทำงานระยะไกลก็ตาม
-
การเปิดใจเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และพร้อมปรับตัวอย่างต่อเนื่อง
Capability ของคนในปัจจุบันสามารถล้าสมัยได้อย่างรวดเร็วจากการมีบทบาทของ Technology ทำให้การมี Lifelong Learning Mindset จำเป็นอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ และยังคงความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้
ในด้านองค์กร จำเป็นต้องหาวิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาพนักงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกธุรกิจ
-
ล้มแล้วลุกไว และเรียนรู้จากประสบการณ์
แรงกดดันของการทำงานสมัยใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกหลังการระบาด แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความยืดหยุ่นและสุขภาพจิต
องค์กรจำเป็นต้องหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานมากขึ้น เพื่อรักษาพนักงานไว้ และสร้างขอบที่สมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวของพนักงานและชีวิตการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะหมดไฟ
Final Thought เกี่ยวกับเรื่อง Future of Work ในปีหน้า
การเปลี่ยนผ่านจากปี 2024 สู่ 2025 ในเรื่องการทำงาน มีเทรนด์ใหม่ที่ต้องศึกษามากมาย ทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเรียนรู้ขององค์กร การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ องค์กรที่ตระหนักถึงการปรับตัว จะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเตรียมพร้อมได้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง รวมถึงในเชิงบุคคล ควรพัฒนาทักษะที่สำคัญ เพื่อเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานในอนาคต
#PWG #PragmaandWillGroup #Futureofwork2025 #Futureofwork #AIinHR #4daysworkweek #Reskill #Upskill #Workflexibility #Gigeconomy #HumanMachine #HumanCentricLeader #Workproductivity
Reference:
Forbes. (2024). 8 Workplace trends that will define 2025. Forbes
Rallyware. (2024). Gig economy growth predictions. Rallyware
Wifitalents. (2024). Eye-Opening 4 Day Work Week Statistics: Boosting Productivity and Well-Being. Wifitalents
ติดตามบทความที่เกี่ยวข้อง
- 4 days work week หรือทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ pilot program ที่หลายองค์กรกำลังจับตามอง Read More
- AI in HR – Explore โอกาสและแนวทางการนำ AI มาใช้ในงาน HR Read More
- People Transformation คืออะไร? พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนองค์กรสู่โลกยุคใหม่ Read More