อะไรคือ Sweet Spot of Stress – ความเครียดแบบไหนที่เป็น ‘จุดกลมกล่อม’

October 17, 2024

โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

เนื่องจากวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี เป็น World Mental Health Day ดังนั้น เราจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักรู้ เกี่ยวกับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่าง ‘ความเครียด’

 

 

ในบทความนี้ เราจะพาไปดูสถิติที่น่าตกใจเกี่ยวกับความเครียด และพาไปทำความรู้จักกับ Sweet Spot of Stress ว่าเป็นอย่างไร

 

 

เรื่องที่น่าตกใจ คือ Gen Z หรือ Generation ที่เข้าสู่การทำงานมากขึ้นเรื่อย ๆ กว่า 40% เห็นว่า การ Burnout เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางความสำเร็จ

 

ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ที่มีการมองว่าภาวะหมดไฟ หรือ Burnout กลายเป็นเรื่องปกติ

 

อีกทั้ง จากสถิติของ Gallup ประมาณการว่า

ภาวะ Low Employee Engagement ที่จะ Lead ไปสู่ Burnout นี้ เป็นต้นทุนต่อ Global Economy ถึง 9% ของ Global GDP หรือกว่า 8.8 ล้านล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ

 

หากพิจารณาทั้งวิถีชีวิต ภาระงาน และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน อาจพาให้หลาย ๆ คนเกิดความเครียด หรือภาวะหมดไฟกันไม่น้อย

 

 

เราเลยจะพาไปรู้จักกับ ‘Sweet Spot of Stress’ หรือ ‘จุดกลมกล่อม’ ที่เกิดจากการรู้สภาวะของตนเองได้ ว่าความเครียดระดับไหนที่จะเกิดประโยชน์ต่อตนเอง และผลลัพธ์

 

จากกราฟด้านล่าง จะเห็นว่า ‘Sweet Spot of Stress’ จะเป็นระดับที่ Optimal ที่สุด ซึ่งเป็นจุดความเครียดระดับปานกลาง ที่ส่งผลสู่ Strong Performance

 

ซึ่งแต่ละคน ก็จะมี ‘Sweet Spot of Stress’ ที่แตกต่างกัน

 

ทุกคนลองนึกถึงสถานการณ์ที่เรามีสนุกกับความท้าทายจากงานใหม่ ๆ ได้เรียนรู้เรื่องที่สนใจ เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์ และนวัตกรรมขึ้น ความรู้สึกเหล่านี้ หมายถึง เราอยู่ในสิ่งเร้าที่เกิดความเครียดระดับปานกลางอยู่ ซึ่งกระตุ้นให้เราเกิดการเรียนรู้ และกดดันในระดับที่เราสามารถควบคุมตนเองและผลงานอย่างพึงพอใจ

ทั้งหมดที่กล่าวมาคือ สัญญาณของ ความเครียด ในทางที่ดีที่สามารถช่วยให้คุณพัฒนาและเติบโตได้ — ทั้งชีวิตส่วนตัวและการทำงาน

 

รูปภาพจาก https://medium.com/curious/the-tipping-point-of-stress-how-to-find-your-sweet-spot-bb17343d5953

 

ในขณะเดียวกัน ความเครียดระดับต่ำเกินไป และสูงเกินไป ที่ทำให้เกิด Weak Performance และเสี่ยงต่อปัญหาทางกายภาพ และจิตใจ ส่งผลต่อผลลัพธ์การทำงานที่ลดลง อาการเช่น เกิดความเหนื่อยหน่าย หมดไฟ หรือถูกบีบบังคับให้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ จนเกินไป จนไม่เกิดการเรียนรู้แต่เป็นความกดดันเพียงอย่างเดียว ทำให้ความสามารถในการจดจำ การคิด ความคิดสร้างสรรค์ เริ่มลดลง

 

ดังนั้น หน้าที่ของพวกเรา คือ ต้องหา ‘Sweet Spot of Stress’ ของตนเองให้เจอ ว่าความเครียด  ความกดดันระดับไหน ที่เกิดการเรียนรู้ และสร้างผลลัพธ์การทำงานที่ดีที่สุดของเรา

 

 

วิธีสร้าง Healthy Baseline ของความเครียด

 

 

  1. ค้นหาตัวเองว่าภาวะไหนที่ทำให้เรารู้สึกอยู่ใน ‘Sweet Spot of Stress’

 

ลองคิดย้อนกลับไปว่า ภาวะไหนที่ทำให้เราเกิด ‘Sweet Spot of Stress’ ที่เรารู้สึกสงบ ความคิดมีระเบียบ และมีโฟกัสกับสิ่งที่ทำอยู่อย่างเต็มที่

 

โดยทั่วไปแล้ว มักจะเกิดพื้นฐานของการใช้ชีวิต เช่น นอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารเพื่อสุขภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการ และออกกำลังกาย

 

และนึกถึงสาเหตุที่อาจทำให้ คุณเข้าสู่ภาวะเครียด เพื่อที่จะได้พยายามหลีกเลี่ยงแนวโน้มที่จะเกิดสภาวะเช่นนั้น

 

เช่น ก่อนการประชุมที่สำคัญ ให้เราวางแผน จองห้องประชุมล่วงหน้าครึ่งชั่วโมง เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน เพื่อไม่ให้ตนตื่นเต้นจนเกินไป การเตรียมพร้อมเหล่านี้ เกิดจากการตระหนักรู้ Sweet Spot of Stress ของตนเอง และรู้จักบริหารสถานการณ์ที่ตนสามารถทำได้ ไม่ให้เครียดมากจนเกินไป

 

 

  1. รู้จักควบคุมและจัดการอารมณ์ตนเอง

 

การควบคุมอารมณ์ตนเอง ช่วยให้เราจัดการตัวเอง ในแบบที่ทำให้เรายังคงมีประสิทธิภาพได้ แม้ในสถานการณ์ที่มีความเครียดสูง

 

วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง คือ การทำสมาธิเป็นประจำเพียงแค่สังเกต ความคิด และความรู้สึกของตัวเอง

 

นอกจากนั้น เรายังสามารถเริ่มเปลี่ยนมุมมองได้ด้วยการมองความเครียดเป็นความท้าทาย บอกตัวเองว่าปัญหาที่เจออยู่นั้นแก้ไขได้ และการหยุดชั่วครู่เพื่อบอกตัวเองว่ากำลังรู้สึกอะไรอยู่ จะช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลา ของอารมณ์นั้น พาเรากลับสู่สภาวะที่ควบคุมได้

 

 

  1. อย่าลืมยึดมั่นใน Core Value ของตัวเอง

 

การมี ‘Value Conflict’ ในระยะเวลานาน เป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ขัดกับความเชื่อ/ แก่นความคิดของเรา

 

เช่น หากถูกขอให้โกหกเพื่อปกปิดความผิดของทีม ทั้งทีเราเป็นคนรักความตรงไปตรงมา ก็จะทำให้เราเข้าสู่โซนความเครียดเกินระดับได้

 

บางครั้ง การมี Value Conflict จะเกิดจากการเอาใจคนอื่นมากเกินไป จนลืมสนใจ Value ของตนเอง เพราะฉะนั้นจุดนี้เป็นเรื่องที่ควรระวัง

 

 

  1. อย่าลืมพาตัวเองพักผ่อนจากความเครียดในการทำงาน

 

เราควรพาตัวเองออกมาการพักหลังจากทำงานให้เป็นนิสัย ความเครียดที่เรื้อรังและไม่มีที่สิ้นสุดจะนำไปสู่ภาวะหมดไฟ

 

แม้แต่ ‘การพักสั้น ๆ’ ระหว่างวันทำงาน เช่น ใช้เวลา 5-10 นาทีเดินพักผ่อน หรือยืดเส้นยืดสาย ก็ถือว่าเป็นอีกวิธีที่ลดระดับความเครียดของตนเองได้ จนถึง Sweet Spot of Stress

 

 

Final Thought เกี่ยวกับ ความเครียดจากการทำงาน เนื่องในเดือนแห่ง World Mental Health ปี 2024

 

อย่างไรก็ตาม องค์กรก็มีหน้าที่ในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่ส่งเสริมให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างกิจกรรมลดความเครียดให้พนักงาน หากพบว่าพนักงานจำนวนมากกำลังประสบปัญหานี้

 

และพนักงานที่มีความเครียดเกินระดับ หากอยู่ในจุดที่ไม่สามารถบริหารตนเองให้อยู่ใน Sweet Spot of Stress ได้แล้ว การไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือพูดคุยกับหัวหน้างาน ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณา

 

 

#PragmaandWillGroup #EmployeeExperience #EmployeeWellbeing #MentalHealthAtWork #SweetSpotofStress #Workplace #Business

 

 

ติดตามบทความที่เกี่ยวข้อง

  • Bare Minimum Monday หรืออาการไม่อยากมาทำงานในวันจันทร์ มีจุดเริ่มต้น และอาการอย่างไรบ้าง Read More
  • 4 days work week หรือทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ pilot program ที่หลายองค์กรกำลังจับตามอง Read More
  • Quit-Tok คืออะไร การเปิดเผยเรื่องราวขณะลาออก และ Toxic Workplace Story Read More
หากต้องการติดต่อสามารถติดต่อ Pragma and Will Group ได้ที่ Contact

ติดตาม Pragma and Will Group ได้ที่