Organization Transformation ปรับเปลี่ยนองค์กรยังไง ให้พร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต
October 4, 2024
โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group
แชร์บทความนี้
70% ของการริเริ่มการเปลี่ยนแปลงในองค์กรมักล้มเหลว
สถิติจาก Willis Towers Watson
ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Organization Transformation หรือการเปลี่ยนแปลงองค์กร ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป กลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม Organization Transformation นั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายและซับซ้อน มีองค์ประกอบหลายประการที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร การนำเทคโนโลยีใหม่ที่เหมาะสมเข้ามาใช้ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากพนักงานภายในองค์กร
ในบทความนี้ เราจะครอบคลุมประเด็นสำคัญในการผลักดัน Organization Transformation หรือการเปลี่ยนแปลงองค์กรว่าควรประกอบด้วยมิติใด และบทบาทอะไรที่สำคัญ
Organization Transformation หรือการเปลี่ยนแปลงองค์กร คืออะไร แบบไหนถึงเรียกว่าเปลี่ยนแปลง…
ก่อนที่จะเข้าสู่รายละเอียด มาทำความเข้าใจกับคำว่า “Organization Transformation” กันก่อน
Organization Transformation หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในองค์กร ซึ่งอาจรวมถึงการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน โครงสร้างองค์กร เพื่อทำงานได้อย่าง Agile มากขึ้น การนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ หรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
หรือเรียกได้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ เพื่อจะนำองค์กรจากจุดที่อยู่ ไปอยู่อีกจุดที่มุ่งหวังไว้
ตัวอย่างการทำ Organization Transformation
องค์กรต้องการเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อสร้างความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาทางเทคโนโลยี สร้างประสิทธิภาพในการทำงาน และลดต้นทุนในระยะยาว
ดังนั้น องค์กรจึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการปรับตัวและตอบสนองต่อแนวโน้มของอุตสาหกรรม เทคโนโลยี อีกทั้ง วัฒนธรรมองค์กรบางอย่างต้องเปลี่ยนไป เพื่อให้มีความยืดหยุ่น และเอื้อต่อการผลักดันนวัตกรรมมากขึ้น โดยจะต้องปรับตัวได้เพื่อให้ทุกคนไปจากจุดหนึ่ง สู่จุดหนึ่งในขณะที่ยึดมั่นในแก่นแท้เดิมอยู่
Organization Transformation จะช่วยให้องค์กรสามารถคงความได้เปรียบในการแข่งขัน และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือวิถีการทำงาน ที่อาจไม่ตอบโจทย์โลกปัจจุบันและอนาคตอีกต่อไป
ตัวอย่างประโยชน์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน จากการทำ Organization Transformation หรือการเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างเหมาะสม
-
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
เมื่อองค์กรสามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด จะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขันมากขึ้น ทั้งการดำเนินธุรกิจในอย่างคล่องตัว เนื่องจากมีเทคโนโลยีและวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมรับนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาในองค์กร
-
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ จะช่วยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ประหยัดเวลาและทรัพยากร ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น
ตัวอย่างสถิติที่น่าสนใจจากงานวิจัยของ Deloitte
53% ของผู้นำในองค์กร เห็นว่าการปรับการทำงานเป็นแบบ Team-Based สามารถสร้างผลลัพธ์จากการทำงานดีขึ้น หรือ Performance Improvement ได้อย่างมีนัยสำคัญ
หรืออีกตัวอย่างที่มักเห็นกันอยู่บ่อยครั้งกับองค์กรขนาดใหญ่ คือ องค์กรที่ขึ้นชื่อเรื่อง High Employee Turnover หรือพูดง่าย ๆ คือ พนักงานลาออกบ่อย เพราะมี Workload มากเกินไป องค์กรจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานให้ Streamline งานมากขึ้น โดยอาจมาจากการใช้เทคโนโลยีมาช่วย ในงานหรือกระบวนการที่อาศัยการทำซ้ำ
-
สร้าง Market Impact ให้องค์กร
อีกหนึ่งประโยชน์จากการสร้าง Organization Transformation คือ การสร้าง Market impact เช่น การขยายกิจการ การควบรวมกิจการ หรือมี Strategic Transformation ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงองค์กรตามภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป
องค์ประกอบสำคัญของ Organization Transformation ที่ประสบความสำเร็จ
จากการศึกษาวิจัยขององค์กรชั้นนำ เราพบว่ามีองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการที่จะนำพา Organization Transformation ไปสู่ความสำเร็จ ได้แก่
-
ผู้นำต้องพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง
ผู้นำต้องพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงก่อน จึงจะสามารถนำทัพองค์กรต่อไปได้สำเร็จ
ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะผู้นำบางคน อาจยึดติดกับความสำเร็จเดิมของตนเอง จากสถิติของ LeadershipIQ พบว่า
กว่า 31% ของ CEOs ยังมีจุดอ่อนเรื่องการนำความเปลี่ยนแปลงอยู่
ผู้นำต้องสามารถรับรู้สถานการณ์ภายในองค์กร และรู้ว่าต้องนำการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และเรื่องอะไรที่ตนจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อสนับสนุนกระบวนการเหล่านี้
-
การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมที่ชัดเจนภายในองค์กร
สร้างวิสัยทัศน์ร่วมเพื่อจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่จุดหมายเดียวกัน
จากสถิติของ Gartner พบว่า การเปลี่ยนแปลงจะประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้นถึง 24% หากพนักงานมีบทบาทในการวางแผนการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมที่ชัดเจน จะช่วยให้พนักงานทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน และร่วมแรงร่วมใจในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่จุดหมายปลายทาง
พนักงานจำเป็นต้องเข้าใจวิสัยทัศน์ ทั้งในเรื่องการผลักดันไปสู่เป้าหมาย สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง และความเร่งด่วนที่ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้น เพราะการตั้งวิสัยทัศน์ขึ้นมาโดยไม่สื่อสารเรื่องข้างต้นออกไปนั้น พนักงานจะไม่รู้สึกถึงความจำเป็น และยังไม่เข้าใจสถานการณ์ต่าง ๆ ทำให้ยากต่อการสนับสนุนภายใน เกิดความตื่นกลัว มากกว่าการช่วยกันผลักดันการเปลี่ยนแปลง
-
การสร้างวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจ และความรู้สึกปลอดภัย
การสร้างบรรยากาศที่พนักงานรู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงความคิดเห็น แบ่งปันข้อกังวล และให้ข้อเสนอแนะ จะช่วยให้ Organization Transformation ราบรื่นยิ่งขึ้น
จากสถิติของ Gartner พบว่า กว่า 73% ของผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร คือ พนักงานมีระดับความเครียดสูงขึ้น
การสร้างความรู้สึกปลอดภัยจากผู้นำ หรือการสื่อสารที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนต่าง ๆ อย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก การที่พนักงานรู้สึกถึง ความห่วงใย ความรับรู้ถึงความกังวล และนำมิติเหล่านั้นไป Take Action ต่อ จะทำให้ Organization Transformation มีความราบรื่นยิ่งขึ้น
-
การสร้างกระบวนการที่สมดุลระหว่างการปฏิบัติ (Execution) และการสำรวจโอกาสต่าง ๆ (Exploration)
Transformation ที่ดี ต้องประกอบด้วย คนที่เกี่ยวข้องและกระบวนการที่เหมาะสม
Organization Transformation ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้ทดลองสิ่งใหม่ ๆ และแสดงความคิดสร้างสรรค์ด้วย
ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะต้องสร้างสมดุลเรื่องอิสระทางความคิดเหล่านี้ กับการบริหารโครงการเปลี่ยนแปลงให้ก้าวไปข้างหน้า มากกว่าอยู่กับกระบวนการ Exploration จึงเป็นโจทย์ที่องค์กรต้องระวัง และต้องจับตามอง
-
การจัดการเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นองค์ประกอบสำคัญใน Organization Transformation ดังนั้นองค์กรต้องวางแผนและจัดการการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนใหญ่แล้ว พนักงานมักมีความตื่นกลัว เมื่อองค์กรมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพราะเกรงว่าจะมาทำงานแทนตน ดังนั้น ความท้าทายในการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ จึงจำเป็นต้องบริหารในหลายมิติ เช่น
- ใครจะเป็นผู้บริหารเทคโนโลยีเหล่านี้ และมี Capability พร้อมหรือยัง
- จะสื่อสารการใช้เทคโนโลยีในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร ควรใช้กระบวนการไหนพนักงานจึงจะเข้าใจตรงกัน และควรพัฒนา Capability โดยรวมของพนักงานอย่างไร
- ต้องสนับสนุนและจัดการอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงของพนักงานได้อย่างไร ทั้งความตื่นกลัว และความตื่นเต้นที่จะได้ลองอะไรใหม่ ๆ
อีกอย่างที่ต้องตระหนัก คือ ‘เทคโนโลยีใหม่ที่นำเข้ามา ต้องนำมาสนับสนุนวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้’
เพราะบางที่อาจให้ความสำคัญผิดจุด หรือมองที่เทคโนโลยีอย่างเดียว และเมื่อ Implement ในองค์กรแล้ว อาจไม่ได้มาช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้เลยตั้งแต่แรกก็เป็นได้
-
การสร้าง Sense of Ownership ในผลลัพธ์
Organization Transformation จะประสบความสำเร็จได้ดีเมื่อพนักงานทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
จากสถิติของ Gartner พบว่า มีพนักงานเพียง 38% เท่านั้น ที่ต้องการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
หน้าที่ของผู้นำคือ ต้องสื่อสารให้พนักงานรู้สึกถึง Sense of Ownership ให้ได้ และพร้อมรับมือแก้ไขสถานการณ์ หรือข้อควรระวังที่พนักงานเสนอขึ้นมาเช่นกัน
ตัวอย่างกรณีศึกษาจาก ความสำเร็จของ Amazon ในเรื่อง Organization Transformation
Amazon เป็นหนึ่งในองค์กรที่ประสบความสำเร็จใน Organization Transformation โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับเปลี่ยนจากร้านค้าปลีกออนไลน์สู่ E-commerce Platform ขนาดใหญ่ที่รองรับผู้ขายจาก Third party
ในปี 2565 รายได้จาก ผู้ขายจาก Third party คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 60% ของยอดขายใน Amazon Store
ดังนั้น Amazon จึงได้ประกาศการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่เพื่อสนับสนุนผู้ขายรายย่อยเหล่านี้ โดยจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านคลังสินค้า การจัดส่ง การเงิน และ Customer Relationship Management
การปรับเปลี่ยนครั้งนี้ของ Amazon แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับวิสัยทัศน์ร่วมในการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับผู้ขายบนแพลตฟอร์ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายในระยะยาว
นอกจากนี้ Amazon ยังแสดงให้เห็นถึงความกล้าที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ และปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป
Final Thought เกี่ยวกับ Organization Transformation หรือการเปลี่ยนแปลงองค์กร
Organization Transformation หรือการเปลี่ยนแปลงองค์กร เป็นสิ่งที่ท้าทายแต่จำเป็นอย่างยิ่งในโลกธุรกิจยุคปัจจุบัน
องค์กรที่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจะมีความได้เปรียบในการแข่งขันและความยั่งยืนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนองค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำที่ต้องเป็นแบบอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงาน
จากบทความนี้ เราได้เรียนรู้ถึงองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการที่จะนำพาการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
ได้แก่ ความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงของผู้นำ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมที่ชัดเจน การสร้างวัฒนธรรมแห่งความไว้วางใจและความรู้สึกปลอดภัยของพนักงาน สร้างกระบวนการที่สมดุลระหว่างการปฏิบัติและการสำรวจโอกาสใหม่ ๆ การจัดการเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ และความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันของพนักงานและองค์กร
หากต้องการปรึกษาเรื่อง Organization Transformation หรือการเปลี่ยนแปลงองค์กร สามารถติดต่อ Pragma and Will Group ได้ที่ Contact
#PWG #PragmaandWillGroup #OrganizationTransformation #การเปลี่ยนแปลงองค์กร #BusinessTransformation #LeadershipTransformation #Changemanagement #DigitalTransformation
Reference
AIHR Digital. (2022). Organizational Transformation: 10 Steps for Success. AIHR
Changing point. (2024). Organizational change management. Changing point
Kotter, J. P. (1995). Leading change: Why transformation efforts fail. Harvard Business Review. HBR
Prosci. (2023). Organizational Transformation: What It Is and How To Succeed. Prosci
Reeves, M., Fæste, L., Whitaker, K., & Harnoss, J. (2023). 6 Key Levers of a Successful Organizational Transformation. Harvard Business Review. HBR
ติดตามบทความที่เกี่ยวข้อง
- Leadership & AI – ต้องผสมผสานอย่างไร สู่ New Age of Human Leadership Read More
- AI in HR – Explore โอกาสและแนวทางการนำ AI มาใช้ในงาน HR Read More
- People Transformation คืออะไร พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนองค์กรสู่โลกยุคใหม่ Read More