The Trust Equation สมการแห่งความไว้ใจประกอบด้วยอะไร? ทำไมผู้นำต้องมี?

June 14, 2024

โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

The Trust Equation – สมการแห่งความไว้ใจ

 

ทำไม Trust Equation ถึงเป็นเรื่องที่ผู้นำไม่ควรเพิกเฉย

 

หากเป็นเรื่อง ธุรกิจ สิ่งที่สำคัญ คือ เงินทุน หากเป็นเรื่อง ผู้นำ สิ่งที่เป็นทุนสำคัญ คือ ความไว้วางใจจากลูกทีม และผู้เกี่ยวข้อง

 

สงสัยมั้ย… ความไว้ใจ หรือ “Trust” เกิดขึ้นได้อย่างไร กว่าเราจะไว้ใจผู้นำซักคนในการนำทีม และพร้อมจะผลักดันไปสู่เป้าหมายเดียวกันต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง และผู้นำแบบไหน ที่จะได้ “Trust” จากลูกทีมไป

 

ความไว้ใจ หรือ Trust ถือเป็นพื้นฐานสำคัญ ในการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกทีม สามารถสื่อสาร และนำทีมไปสู่เป้าหมายได้ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดี หากขาดความไว้ใจจากลูกทีม ไม่ว่าผู้นำคนนั้นจะเป็นคนที่เก่งแค่ไหน ก็อาจมีอุปสรรคในการนำทีมไม่น้อย

 

 

Trust Equation หรือ สมการแห่งความไว้ใจมีที่มาอย่างไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

 

Trust Equation มีที่มาจากหนังสือชื่อ The Trusted Advisor เขียนโดย David Maister, Robert Galford, และ Charles Green ภายในเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาเรื่องการสร้าง Trust ประกอบกับ Framework ต่าง ๆ ที่น่าสนใจในการนำไปปรับใช้

 

สิ่งที่ผู้นำต้องมีเพื่อเป็นต้นทุนสำคัญในการนำทีม “Trust Equation สมการแห่งความไว้ใจ

 

Trust Equation คืออะไร

 

จากสมการในรูปข้างต้น จะเห็นว่า การที่จะมี Trustworthiness หรือ ความน่าไว้วางใจ ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ

 

โดย 3 องค์ประกอบแรก จะต้อง มาก

 

  1. Credibility (ความน่าเชื่อถือ)

“คุณมีทักษะในการทำงานนั้น ๆ เพียงพอหรือไม่”

 

Credibility ประกอบไปด้วย Expertise หรือ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ

เพราะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่า คุณเข้าใจในงานหรือธุรกิจที่ทำอยู่หรือไม่ หากเข้าใจเพียงพื้นฐานของธุรกิจ ในแง่การบริหารต่าง ๆ แต่ไม่มีพื้นฐานความรู้เชิงลึกในทีมที่ดูแลอยู่เลย ความน่าเชื่อถือก็จะลดลง

 

จะพัฒนาเรื่อง Credibility หรือ ความน่าเชื่อถือได้อย่างไร

  • หาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ขาด หากมีแต่ Soft Skill แต่ทีมที่ต้องนำอาศัย Hard Skill เป็นหลัก ก็ต้องไปทำความเข้าใจทั้งในเชิงภาพรวม และเชิงลึก เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือขึ้น
  • มีการสื่อสารที่เปิดเผย โปร่งใส และแม่นยำ
  • ฉลาดในการตั้งคำถาม

 

 

  1. Reliability (ความพึ่งพาได้)

“คุณสามารถทำเหมือนที่พูดได้หรือไม่”

 

Reliability หรือ ความพึ่งพาได้ประกอบไปด้วย

  • สามารถทำสิ่งที่รับปากไว้ได้เสมอ เช่น ทำงานได้คุณภาพตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ หรือ จะ Take action กับปัญหาได้ตามที่สัญญาลูกทีมไว้
  • จัดแจงหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงไม่ Overpromise กับฝ่ายอื่นจนลูกทีมรู้สึกกดดัน และเกินขอบเขตของงานที่ต้องทำ
  • เมื่อมีวิกฤตหรือปัญหา สามารถเป็นที่พึ่งให้ทีมได้

 

จะพัฒนาเรื่อง Reliability หรือ ความพึ่งพาได้อย่างไร

  • พิสูจน์ให้เห็นว่า เราสามารถส่งมอบงานได้ตามระยะเวลาที่กำหนด และได้คุณภาพตามที่ตกลงไว้ โดยอาศัยการทำซ้ำเพื่อให้เห็นว่าสามารถทำได้จริงอย่างสม่ำเสมอ
  • ใช้วิธีการสื่อสาร หรือภาษาเดียวกันกับผู้ที่เราร่วมงานอยู่ รวมถึงเรียนรู้ตัวย่อ หรือคำศัพท์เชิงเทคนิค ฯลฯ
  • ระมัดระวังเรื่อง Under promise และ Over Deliver

 

  1. Intimacy (ความใกล้ชิด)

“หากลูกทีมมีปัญหา เขาสามารถเปิดใจคุยกับคุณได้อย่างเปิดเผยหรือไม่”

 

หัวใจของ Intimacy คือ ความรู้สึกปลอดภัย ไว้ใจ ในการเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้นำหรือหัวหน้าฟัง

โดยผู้นำจะต้องแสดงความเป็นตัวของตนเอง หรือ Authentic ต่อลูกทีมอย่างเหมาะสม และจากหนังสือ The Trusted Advisor ได้ทำ Survey คนจำนวน 70,000 คน และพบว่า องค์ประกอบเรื่อง Intimacy เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการสร้างความน่าไว้วางใจ

 

จะพัฒนาเรื่อง Intimacy หรือ ความใกล้ชิด ในเชิงการทำงานได้อย่างไร

  • กล้าที่จะแสดงด้านที่อ่อนแอออกมาบ้าง หรือเป็นการ Lead By Example
  • มีส่วนร่วม และแสดงอารมณ์ความรู้สึกบ้างในบทสนทนาต่าง ๆ ให้เห็นถึงความใส่ใจ

 

และอีกหนึ่งองค์ประกอบของ Trust Equation ในข้อสุดท้าย ต้อง “น้อย”

 

  1. Self-Orientation (ความสนใจในประโยชน์ส่วนตน)

“ยิ่งสนใจผลประโยชน์ส่วนตนมากเพียงใด ความไว้ใจจะยิ่งน้อยลงเท่านั้น”

 

จะลดเรื่อง Self-Orientation หรือ ความสนใจในประโยชน์ส่วนตน ได้อย่างไร

  • มักตั้งคำถาม เพื่อทำความเข้าใจผู้อื่น
  • นำทีมด้วยความใจเย็น
  • ชี้แจง Agenda กับลูกทีมเสมอก่อนประชุมกับผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง
  • ออกความเห็น และสร้างพื้นที่ในการระดมความคิด
  • พยายามตอบคำถามต่าง ๆ ภายใน 90 วินาที หรือน้อยกว่านั้น และต่อด้วยคำถามปลายเปิด เพื่อรับฟังความเห็นของผู้อื่น
  • แสดงความใส่ใจอื่น ๆ เช่น หากเหลือเวลาประชุมเพียง 15 นาที ลองถามว่า สามารถประชุมเสร็จภายในเวลาหรือไม่ หรือต้องนัดครั้งต่อไปเพื่อไม่ให้เลท หรือเบียดเบียนเวลาของลูกทีม

 

 

จะเห็นได้ว่า Trust Equation นี้มีความน่าสนใจอย่างมาก ในการสร้างต้นทุนที่ดีให้กับผู้นำ นั่นคือเรื่อง Trustworthiness หรือความน่าไว้วางใจ

 

ตามสมการในคณิตศาสตร์ หากต้องการให้ Trustworthiness หรือความน่าไว้วางใจมาก

3 องค์ประกอบบนก็ต้อง “มาก” ซึ่งประกอบด้วย Credibility Reliability และ Intimacy และต้อง ลด” องค์ประกอบที่อยู่ด้านล่าง หรือเรื่อง Self-Orientation

 

ตามบทความข้างต้น จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบต่าง ๆ ไม่ได้ยากเกินความสามารถของคนที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำ แต่ต้องอาศัย เวลา” ในการพิสูจน์ และ ความขยัน ทำจนเป็นนิสัย” หากผู้นำสามารถสร้าง Trustworthiness ต่อทีมได้ จะเป็นต้นทุนที่ดีในการนำทีมในระยะยาวอย่างยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ

 

 

#PWG #PragmaandWillGroup #HRTheSeriesPWG #TrustEquation #Trust #Leadership #LeadershipSkill

 

 

Reference:

Trusted Advisor. (2024). Understanding the trust equation. สืบค้นจาก Trusted Advisor

 

 

ติดตามบทความที่เกี่ยวข้อง

  • ความท้าทายของผู้บริหาร งานล้นมือ จะดูแล Talent อย่างไร (Talent Development For Manager) Read More
  • ปลดล็อกศักยภาพ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย Capability ที่มีมาตรฐาน Read More
  • ทำไม Leadership Skill ในอนาคตต้องเปลี่ยนไป และทักษะอะไรที่สำคัญ Read More
หากต้องการติดต่อสามารถติดต่อ Pragma and Will Group ได้ที่ Contact

ติดตาม Pragma and Will Group ได้ที่