วิธีการดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้ามาในองค์กรด้วย EVP ที่ตรงใจ
October 31, 2023
โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.
แชร์บทความนี้
วิธีการดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้ามาในองค์กรด้วยการมอบ Employee Value Proposition หรือ EVP ที่ตรงใจ…
ซึ่งตอบโจทย์กับสถานการณ์ในปัจจุบันที่หลายองค์กรเจอปัญหา “Talent War” หรือ การแย่งชิงคนเก่งเข้ามาทำงานในองค์กรของตน ทำให้มีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป บางองค์กรอาจดึงดูดด้วยการเสนอเงินเดือนที่สูงขึ้น หรือการให้ Benefits ต่าง ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างและมัดใจผู้สมัครให้ได้ ซึ่งเป็นวิธีที่เห็นผลชัดเจน อาจได้ผลทั้งระยะสั้นและยาว
แต่หากองค์กรไหนไม่อยากเข้าไปแข่งขันเรื่องเงินเดือน เนื่องจากมีงบประมาณจำกัด หรือเกรงว่าจะเกิดเงินเดือนเฟ้อขึ้นในอนาคต เราจึงขอเสนอเรื่อง Employee Value Proposition หรือ EVP เพื่อเป็นอีกหนึ่งมิติในการพิจารณาต่อยอดวิธีการดึงดูดคนเก่งเข้ามาทำงานในองค์กรของเรา
Employee Value Proposition คืออะไร?
จากข้อมูลของ Harvard Business Review ได้กล่าวว่า วิธีที่จะชนะใน Talent War ได้ องค์กรต้องรู้จักสร้าง Employee Value Proposition ที่ดึงดูด ทำให้คนรู้สึกว่า
“ถ้าต้องการทำงานในองค์กรที่มีคุณค่าแบบนี้ ต้องเลือกมาทำงานกับองค์กรของเรานะ”
ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ส่วน ดังนี้ (1)
1. Material Offerings
หรือสิ่งที่องค์กรสามารถให้ได้ทั้งในรูปตัวเงินอย่างเงินเดือน และไม่ใช่ตัวเงิน เช่น สถานที่ทำงาน อุปกรณ์ในการทำงาน ความยืดหยุ่นในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ หรือยืดหยุ่นเวลาเข้าและเลิกงาน หรือสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เป็นต้น
2. Opportunities To Develop & Grow
หรือองค์กรที่สร้างโอกาสให้พนักงานได้พัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนให้เรียนรู้ทักษะใหม่ที่กำลังเป็นที่ต้องการ เช่น มี Training เรื่อง AI หรือเปลี่ยนวิธีการทำงาน ให้พนักงานเกิดการเรียนรู้ที่เร็วขึ้น และครอบคลุมมากขึ้น เช่น การทำ Job Rotation การเลื่อนตำแหน่ง การให้ลองบทบาทใหม่ ๆ ในองค์กร เปิดโอกาสให้พนักงานได้ลองทำโปรเจคที่ตนเองสนใจ หรือการมี Mentoring & Coaching จากผู้บริหารหรือผู้ที่เชี่ยวชาญในสายงานต่าง ๆ ที่พนักงานสนใจ
3. Connection & Community
หรือองค์กรที่สร้างความเป็นกลุ่มก้อน กลมเกลียวกันระหว่างพนักงาน สร้างพลังงานถึงความเป็นทีม และสามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเป็นธรรมชาติ มีบรรยากาศการทำงานที่สนับสนุนกัน มี Team Building และหมั่นสร้างการมีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอ
4. Meaning & Purpose
หรือองค์กรที่มีจุดมุ่งหมายแน่วแน่ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งแต่ละองค์กรก็จะมีแนวคิดที่แตกต่างกัน เช่น เรื่องสร้างความยั่งยืน สนับสนุนความเท่าเทียม รักษ์โลก ฯลฯ ซึ่ง Purpose เหล่านี้ สามารถเข้าไปดึงดูดใจผู้สมัครได้ หากมี Purpose ที่ตรงกัน เพราะจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันคุณค่าเหล่านี้ให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น
จากการทำความรู้จักกับ Employee Value Proposition ทั้ง 4 แง่มุมไปแล้ว คิดว่าหลาย ๆ คน คงพอจะนึกตัวอย่างองค์กรที่โดดเด่นในแต่ละแง่มุมกันออกข้อละ 1 – 2 องค์กร นั่นเป็นเพราะองค์กรเหล่านั้น สร้างความโดดเด่นและชู EVP ของตัวเองอย่างชัดเจน เช่น Patagonia ชูเรื่อง Meaning & Purpose สำหรับคนที่ต้องการรักษาสิ่งแวดล้อม และทำให้โลกนี้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น เป็นต้น
หากนำไปปรับใช้กับคนรุ่นใหม่ หรือ Young Talent องค์กรควรทำอย่างไร?
คนรุ่นใหม่ในที่นี้ หากจำกัดให้แคบลง คือ Gen Z ที่กำลังจะเข้ามาเป็นแรงงานหลักในอนาคต ซึ่ง Gen Z นี้ มีลักษณะเด่น ๆ เกี่ยวกับการทำงานแตกต่างจาก Generation อื่น ๆ เพราะฉะนั้นหากองค์กรเจาะกลุ่มเป้าหมายเป็น Gen Z ก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า พวกเขาเป็นคนยังไง ต้องการอะไร และอะไรที่สามารถมอบให้พวกเขาได้
1. รู้จักในนามของ Job Hopper
จากสถิติของ ResumeLab ได้กล่าวว่า Gen Z กว่า 83% มองตัวเองเป็น Job Hopper เพราะมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนงานบ่อยกว่าคนใน Generation อื่น ๆ ซึ่งถือเป็นเปอร์เซ็นต์ที่เยอะ แล้วองค์กรควรทำอย่างไรเพื่อดึงดูด และรักษาให้พนักงานกลุ่ม Gen Z อยู่ในองค์กรนานขึ้น…
สิ่งที่องค์กรสามารถมัดใจ Young Talent นี้ไว้ได้ อาจเป็นเรื่องการสร้าง Community และ Relationship ที่ดีในองค์กร เพราะเป็นเรื่องที่อาศัยเวลา และเมื่อเรามี Relationship ที่ดีในองค์กรเดิมแล้ว ก็ยากที่จะเดินออกไปเริ่มต้นใหม่กับที่อื่น ๆ
2. มีความเป็น Individualism สูง
Gen Z มีความเป็น Individualism ค่อนข้างสูงกว่า Generation อื่น ๆ เพราะฉะนั้นในมุมของ EVP คือ ต้องดูว่าจะสามารถตอบโจทย์ Lifestyle และสร้าง Experience ที่ดีได้หรือไม่ เช่น การมอบความยืดหยุ่นในการทำงาน สร้างประสบการณ์ที่ดีทั้งเรื่องงานและเรื่องอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของคนรุ่นใหม่
3. ต้องการความท้าทายในการทำงาน และมี Entrepreneurial Mindset สูง
องค์กรจึงต้องสร้างความท้าทายในการทำงาน และเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อีกทั้งมี Develop Opportunity ซึ่งอาจมาจากการทำ Training หรือการได้พบปะกับผู้บริหาร เพื่อทำการ Mentoring & Coaching เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด เรียนรู้จากผู้ที่ประสบความสำเร็จ และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองต่อไป
ทำให้รู้สึกว่า ในองค์กรนี้มีโอกาสมากมายให้พวกเขาได้เรียนรู้ และได้ใช้ความเป็น Entrepreneurial Mindset ลองริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ในองค์กร
เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว อย่าลืมนำแนวคิดเรื่อง Employee Value Proposition มาปรับใช้ในองค์กร และเตรียมพร้อมรับมือกับ Talent War ที่จะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็มีทางออกหลายทาง
หากองค์กรใดที่ใช้เรื่องเงินเดือนเป็นตัวดึงดูดหลัก อยากให้ลองหันมาพิจารณาเรื่อง EVP เป็นส่วนเสริมด้วย เพราะในอนาคตเรื่องเงินเดือนอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอในการสร้างความแตกต่าง และมัดใจ Young Talent เนื่องจากการสร้างความสอดคล้องระหว่าง Value ที่ตรงกันกับระหว่างองค์กรกับพนักงานก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
หรือหากต้องการปรึกษาเรื่องการออกแบบ Employee Value Proposition (EVP) ให้เหมาะสมกับพนักงานในองค์กร จากการนำ Data มาวิเคราะห์ สามารถปรึกษา Pragma and Will Group ได้ด้านล่าง
#Pragmaandwillgroup #PWG #HRTheSeriesPWG #EmployeeValueProposition #EVP #TalentWar #GenZ #YoungTalent #JobHopper
(1) Harvard Business Review. (2023). Rethink Your Employee Value Proposition. สืบค้นจาก Harvard Business Review
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ช่องทางด้านล่าง
และติดตามบทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ที่
- เมื่อการเป็น Purpose-Driven Organization ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป Read More
- การอบรมและพัฒนาพนักงานแนวใหม่ Read More
- ออกแบบค่าตอบแทน ให้แข็งแรงและสอดคล้องกับทิศทางองค์กร Read More