People Analytics คืออะไร? พลังของการวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานในองค์กร
September 2, 2024
โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group
แชร์บทความนี้
ในโลกแห่งข้อมูลที่เติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน การตัดสินใจโดยอิงจากสัญชาตญาณและการคาดการณ์เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอสำหรับเรื่อง HR อีกต่อไป การนำข้อมูลและการวิเคราะห์มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยเหตุนี้ เรื่อง People Analytics จึงควรถูกยกระดับความสำคัญขึ้นในองค์กร
“กว่า 70% ของ HR Executive ที่นำเรื่อง People Analytics มาใช้ในองค์กร กล่าวว่าการทำ People Analytics สามารถช่วยออกแบบเรื่อง HR Strategy ในองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ”
บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับเบื้องหลังการวิเคราะห์ข้อมูลพนักงาน เพื่อให้คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมกับองค์กรของคุณ และขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจผ่านการบริหารจัดการพนักงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
People Analytics คืออะไร…
People Analytics หรือ การวิเคราะห์ข้อมูลพนักงาน คือ การนำข้อมูลและการวิเคราะห์มาใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับพนักงานในองค์กร ซึ่งรวมถึงการวางแผนกำลังคน (Workforce planning) การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน (Recruitment and selection) การพัฒนาพนักงาน (Employee development) รวมถึงการบริหารผลการทำงาน (Performance management)
การวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด “บริหารพนักงานแบบ Evidence-based”
ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์เป็นพื้นฐานในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องคน และองค์กร แทนที่จะใช้เพียงประสบการณ์และความรู้สึกส่วนตัว
ในอดีต การบริหารทรัพยากรบุคคลมักจะอิงกับประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของผู้บริหารเป็นหลัก แต่ในปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรมากยิ่งขึ้น
“94% ของ Business Leader เห็นตรงกันว่า เรื่อง People Analytics สามารถยกระดับการทำงานของ HR Professional ได้”
ขั้นตอนสำคัญในการทำ People Analytics คืออะไร ถึงจะสามารถนำข้อมูลมาช่วยนำทางการตัดสินใจ
การทำ People Analytics ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้
-
การรวบรวมข้อมูล (Data Collection)
ขั้นตอนแรก คือ การระบุและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพนักงานในองค์กร ข้อมูลเหล่านี้อาจมาจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (HRIS) แบบสำรวจความพึงพอใจของพนักงาน ข้อมูลการลาออกและการเข้าออกงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เช่น ข้อมูลการขาย การตลาด และการเงิน ก็อาจถูกนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ด้วย
-
การจัดการข้อมูลที่มี (Data Cleaning)
หลังจากรวบรวมข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล รวมถึงการกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนหรือไม่สมบูรณ์ออกไป เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพและพร้อมสำหรับการวิเคราะห์ในขั้นต่อไป
-
การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)
เมื่อได้ข้อมูลที่ถูกจัดการและมีคุณภาพแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งอาจใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การวิเคราะห์สถิติ การทำนายแนวโน้ม (Predictive Analytics) หรือการใช้เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning เป็นต้น
-
การนำผลการวิเคราะห์ไปปฏิบัติ (Action)
ขั้นตอนสุดท้าย คือการนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ไปปฏิบัติ หรือการนำ Insight ไปต่อยอดสู่ Action โดยอาจเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายหรือกระบวนการด้านทรัพยากรบุคคล การวางแผนกำลังคน หรือการกำหนดแนวทางในการพัฒนาพนักงาน เป็นต้น
เช่น หากผลการวิเคราะห์พบว่าอัตราการลาออกของพนักงานในแผนกหนึ่งสูงกว่าปกติ องค์กรอาจต้องทบทวนนโยบายการจ้างงาน สวัสดิการ หรือสภาพแวดล้อมการทำงานในแผนกนั้น เพื่อรักษาพนักงานที่มีคุณภาพไว้กับองค์กร
การนำเรื่อง People Analytics ไปต่อยอดในองค์กร สามารถประยุกต์ในเรื่องไหนได้บ้าง
ตัวอย่างเรื่องที่ People Analytics สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
-
การวางแผนกำลังคน (Workforce Planning)
การวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานช่วยให้องค์กรสามารถคาดการณ์ความต้องการกำลังคนในอนาคต และวางแผนการสรรหาและพัฒนาพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การวิเคราะห์อัตราการเกษียณอายุ การลาออก และการขยายธุรกิจ เพื่อประเมินความต้องการกำลังคนในแต่ละตำแหน่งงาน
-
การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน (Recruitment and Selection)
People Analytics ช่วยให้องค์กรสามารถระบุคุณสมบัติและ Capability ที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงานต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น รวมถึงช่วยในการคัดกรองผู้สมัครที่มีศักยภาพสูงสุด นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงกระบวนการสรรหาและคัดเลือกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)
ข้อมูลจากระบบประเมินผลการปฏิบัติงานสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน รวมถึงช่วยในการกำหนดเป้าหมายและวัดผลการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ข้อมูลในการออกแบบระบบการให้ Reward และสิ่งจูงใจที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละกลุ่ม
-
การพัฒนาพนักงาน (Employee Development)
People Analytics ช่วยให้องค์กรสามารถระบุช่องว่างของ Capability ของพนักงานได้ชัดเจนขึ้น จากนั้นจึงวางแผนการพัฒนาพนักงานให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร ทั้งในรูปแบบของการฝึกอบรม การสอนงาน หรือการมอบหมายงานที่ท้าทายเพื่อเสริมสร้าง Capability ใหม่ที่จำเป็นในการทำงาน
-
การดูแล รักษาพนักงาน (Employee Retention)
การวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานสามารถช่วยระบุปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการลาออกของพนักงาน เช่น ความพึงพอใจในงาน โอกาสความก้าวหน้า หรือปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร จากนั้นองค์กรจึงสามารถกำหนดมาตรการในการรักษาพนักงานที่มีคุณภาพไว้กับองค์กรได้อย่างตรงจุด
-
การส่งเสริมความหลากหลายภายในองค์กร (Diversity and Inclusion)
ข้อมูลเชิงประชากรของพนักงาน เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ ฯลฯ สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนความหลากหลายในองค์กรได้ จากนั้นจึงกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่ส่งเสริมความหลากหลายและการรวมกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
การนำ People Analytics มาใช้มีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อองค์กร
การนำ People Analytics มาประยุกต์ใช้ในองค์กรมีประโยชน์หลายประการ ดังนี้
-
ช่วยให้การตัดสินใจด้านพนักงานมีพื้นฐานจากข้อมูล และ Insight ที่ได้จากการวิเคราะห์จริง
แทนที่จะตัดสินใจด้วยความรู้สึกหรือประสบการณ์ส่วนตัว การใช้ People Analytics ทำให้องค์กรสามารถอ้างอิงข้อมูลและผลการวิเคราะห์
โดยการวิเคราะห์ข้อมูลภายใน งานวิจัย และการศึกษา ร่วมกับการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์ คุณค่า และข้อกังวล HR สามารถตัดสินใจบน
“พื้นฐานของหลักฐานและข้อมูล” แทนที่จะพึ่งพา “ความรู้สึกหรือประสบการณ์ส่วนตัวเพียงอย่างเดียว”
ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลพนักงาน HR สามารถเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นการกระทำและปรับข้อเท็จจริงให้สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กรและเป้าหมายทางธุรกิจ โดยแสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์ด้านพนักงานที่เสนอสามารถช่วยให้ธุรกิจเติบโตและบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างไร HR จะได้รับที่นั่งที่โต๊ะผู้นำและให้ความรู้แก่ผู้นำเกี่ยวกับวิธีที่กลยุทธ์และกระบวนการใหม่จะช่วยเพิ่มรายได้และขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้า
-
พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และภาพรวม
Dashboard และแนวโน้มที่เน้นปัญหาเฉพาะ รวมถึงการทำงานร่วมกัน ปริมาณงาน ความหลากหลายและการมีส่วนร่วม และการประเมินความเสี่ยงในที่ทำงาน ล้วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ในบางกรณี การวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานช่วยเพิ่มผลผลิตของพนักงานเกือบเท่าตัว และส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวม
-
ประหยัดต้นทุนจากการจัดสรรงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานสามารถช่วยองค์กรจัดสรรงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่าง หากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเรียนรู้และพัฒนาบางอย่างช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของพนักงานและรายได้ การลงทุนเพิ่มในโปรแกรมนี้โดยเฉพาะและลดการใช้จ่ายในโปรแกรมอื่น ๆ ที่ไม่ได้สร้างมูลค่าเท่ากันจึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล
-
ช่วยให้ลดช่องว่าง Capability Gap จากการพัฒนาอย่างตรงจุด จาก Capability Insights
หากปล่อยทิ้งไว้ Capability Gap สามารถส่งผลเสียต่อ Performance การทำงาน และการมีส่วนร่วมของพนักงาน ขวัญกำลังใจ และการลาออก การวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานช่วยให้องค์กรเข้าใจ Capability ปัจจุบันของพนักงานและ Capability ในอนาคตที่จำเป็นตามความต้องการและกลยุทธ์ทางธุรกิจ ทำให้สามารถลดช่องว่างของ Capability ได้
Future of People Analytics – อนาคตของ People Analytics จะเป็นอย่างไร
ในอนาคต การวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการขับเคลื่อนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ขององค์กร ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning องค์กรจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก และสร้างการคาดการณ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของพนักงาน และผลลัพธ์ทางธุรกิจ
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างประสบการณ์ของพนักงาน (Employee Experience) ที่ดียิ่งขึ้น ตั้งแต่การสรรหาไปจนถึง Career Development องค์กรจะสามารถใช้ข้อมูลเพื่อปรับแต่งวิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับพนักงานและตอบสนองความต้องการเฉพาะของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น
ในที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานจะกลายเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยรวมขององค์กร ผู้นำธุรกิจจะพึ่งพาข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์ข้อมูลพนักงานมากขึ้นเพื่อยกระดับภาพรวมขององค์กรอย่างยั่งยืน
หากต้องการสมัครเรียน People Analytics: Unlocking Insights for Your Organizational Success สามารถ Explore คอร์สเรียนได้ที่ช่องทางด้านล่าง
https://www.skooldio.com/courses/people-analytics
พิเศษ สำหรับคนที่สมัครคอร์สภายใน 16 กันยายน 2567 นี้
กรอกโค้ด PPA300 รับส่วนลด 300 บาท เหลือเพียง 1,190 บาทเท่านั้น (เฉพาะนามบุคคลเท่านั้น)
#PragmaandWillGroup #HRTheSeriesPWG #PeopleAnalytics #Peopleandorganization #Employeedevelopment #DataAnalytics #Technology #Capability #HR #Business
Reference:
AIHR. (2024). People analytics: an essential guide for 2024. สืบค้นจาก AIHR
OrgMapper. (2024). What is people analytics: Definition, tools, process. สืบค้นจาก OrgMapper
SHRM. (2024). The Use of People Analytics in HR. สืบค้นจาก SHRM
ติดตามบทความที่เกี่ยวข้อง
- ปลดล็อกศักยภาพพนักงาน ด้วยการใช้ Employee Capability Assessment สู่การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ Read More
- Competency หรือ สมรรถนะ คืออะไร ต่างจาก Skill อย่างไร Read More
- คุณวันเฉลิม ร่วมแชร์ความรู้เรื่อง People Analytics ณ งานที่จัดโดย AMCHAM Thailand Read More