ถอดบทเรียน จากบาร์บี้เวอร์ชั่นต้นฉบับ ที่สนับสนุนการ Empower ผู้หญิงในมุมมองต่าง ๆ

August 11, 2023

โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

ในตอนนี้ ภาพยนตร์ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากอย่าง เรื่อง บาร์บี้ ได้สร้างรายได้ไป 780 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในเวลา 2 สัปดาห์แรก และเป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง จึงชวนมาถอดบทเรียนกันในบทความนี้

 

วันนี้เราจึงชวนมาร่วมถอดรหัสเกี่ยวกับ “บาร์บี้เวอร์ชันต้นฉบับ” ที่เป็นต้นกำเนิด และมีประวัติยาวนานมากกว่า 60 ปี อีกทั้งเคยสร้างรายได้สูงถึงกว่า 58 พันล้านบาท (ในปี ค.ศ. 2021) ว่ามีการสร้าง Impact สู่ผู้หญิง และสังคมอย่างไรบ้าง 

 

ก่อนอื่น อยากให้ทำความรู้จักประวัติโดยคร่าวของบาร์บี้ ตุ๊กตาที่กลายเป็นไอดอลของผู้หญิงหลาย ๆ คน…

เริ่มจาก คุณ Ruth Handler เห็นลูกสาวของตนเองเล่นตุ๊กตากระดาษอยู่บ่อยครั้ง และได้เกิดความคิดว่า จริง ๆ แล้ว ของเล่นพวกนี้สามารถสร้างจินตนาการ และส่งเสริมวิสัยทัศน์ของเด็กผู้หญิงได้ รวมถึงเห็นตุ๊กตาผู้หญิงแบบ 3 มิติ จึงเกิดแรงบันดาลใจ ให้เริ่มออกแบบตุ๊กตาบาร์บี้ หรือตุ๊กตาในตำนานออกมา (1)

 

โดยตุ๊กตาบาร์บี้ตัวแรก ได้เปิดตัวสู่ตลาดในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1959 ที่งาน American International Toy Fair ที่ New York City และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

 

จากนั้น Ruth Handler จึงเริ่มสร้างสรรค์บาร์บี้ออกมาแต่ละเวอร์ชัน และพัฒนาทั้งการออกแบบบาร์บี้ให้มีความหลากหลายทางอาชีพ รวมไปถึงรูปร่าง ลักษณะ และสีผิว อีกทั้งสร้างเป็นภาพยนตร์และซีรี่ย์ Animation หลากหลายตอน เพื่อเปิดกว้างทางจินตนาการ และสร้างความใกล้ชิดกับเด็กผู้หญิงทั่วโลก

 

ถอดบทเรียน ต้นฉบับของบาร์บี้ ที่สร้างอิทธิพลต่อผู้หญิงหลาย ๆ คน

 

บาร์บี้ ต้องการนำเสนอเรื่องการ Empower ผู้หญิงในแง่มุมต่าง ๆ และสนับสนุนเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ

ในสมัยก่อน เราอาจยังไม่ค่อยเห็นผู้หญิงมีบทบาทการเป็นผู้นำทางสังคมมากเท่าผู้ชายเท่าในตอนนี้ ทำให้บาร์บี้มีการสอดแทรกแนวคิดเรื่องที่ผู้หญิง ก็สามารถเป็นผู้นำได้ ไม่ว่าจะผ่านทางตุ๊กตา Collection ต่าง ๆ หรือในภาพยนตร์หลาย ๆ ตอน ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมาที่จะให้ผู้หญิงเป็นตัวดำเนินเรื่องเสมอ หรือเป็นคนต้นคิดในการวางแผนรับมือกับตัวร้ายในเรื่อง และนำทีมไปสู่ความสำเร็จ

 

สิ่งเหล่านี้ สามารถสร้างแรงบันดาลให้เด็กผู้หญิงได้ตั้งแต่วัยเยาว์ ให้กล้าที่จะเป็นผู้นำ รวมถึงปัจจุบัน สังคมมีความเปิดกว้างขึ้น ทำให้เห็นว่าในหลาย ๆ องค์กร หรือหลาย ๆ บทบาททางสังคม มีผู้หญิงขึ้นมาเป็นผู้นำมากขึ้น

 

บาร์บี้ สร้างแรงบันดาลใจ ให้ก้าวผ่าน Occupational Stereotype หรือการเหมารวมทางอาชีพที่เหมาะกับแต่ละเพศ

บาร์บี้ ก้าวข้ามขีดจำกัดเรื่องอาชีพและเพศ ในอดีต หลาย ๆ คนมักจะยึดติดว่า ผู้หญิงจะเหมาะกับงานบางประเภทเท่านั้น เช่น งานเลขาฯ งานพยาบาล หรืองานด้านการบริการอื่น ๆ ซึ่งบาร์บี้ฉีกข้อจำกัดนั้นออกไป โดยการสร้าง Collection สายอาชีพที่หลากหลาย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กผู้หญิงทุกคนรู้ว่า ศักยภาพของพวกเราไม่มีขีดจำกัด

 

ถอดบทเรียนจากบาร์บี้เวอร์ชันต้นฉบับ

รูปภาพจาก Dolls Magazine

 

จึงทำให้สร้างบาร์บี้ตาม Collection สายอาชีพกว่า 200 อาชีพ (2) เช่น เชฟ ไลฟ์การ์ด เจ้าของกิจการ หมอฟัน นักบินอวกาศ เชียร์ลีดเดอร์ นักกีฬาเบสบอล สายลับ ฯลฯ จะเห็นได้ว่า อาชีพของบาร์บี้มีความหลากหลาย มีทั้งฝั่ง STEM ฝั่งงานบริหาร ฝั่งวิชาการ ฝั่งบริการ ฝั่งงานสายบันเทิง และอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงในแต่ละ Collection นอกจากจะมีตุ๊กตาบาร์บี้ และชุดในสายอาชีพแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สามารถส่งเสริมจินตนาการของเด็กผู้หญิงได้ เช่น Collection คุณครูสอนภาษา จะมี Flashcard และสมุด เป็นต้น

 

การส่งเสริมจินตนาการเช่นนี้ ทำให้เด็กผู้หญิงกล้าที่จะมีความฝัน และเน้นย้ำว่า เพศกับอาชีพไม่ได้ผูกไว้ด้วยกัน เช่น งานสาย IT ไม่ได้เหมาะกับผู้ชายเท่านั้น เช่นเดียวกับงานด้านการบริการ ที่ไม่ได้ผูกอยู่กับผู้หญิงอย่างเดียว การเน้นย้ำเช่นนี้ เป็นการสนับสนุนให้มีความคิดที่กว้างขวางมากขึ้น ไม่ยึดติดกับค่านิยมทางสังคมแบบเดิม ๆ

 

สามารถสร้าง บาร์บี้ Effect ไปทั่วโลก

ด้วยความที่ บาร์บี้ มีประวัติมามากกว่า 60 ปี ทำให้สร้าง Impact ให้ผู้หญิงแต่ละยุคสมัยอย่างมาก และมีการปรับปรุงและพัฒนาไปตามความเป็นจริง เช่น ในช่วงแรกที่เปิดตัวตุ๊กตาบาร์บี้ออกมา เป็นผู้หญิง ผมบลอนด์ตรง รูปร่างผอมสูง ทำให้กลายเป็น Beauty Standard ของเด็กผู้หญิงหลาย ๆ คน ผู้ผลิตตุ๊กตาบาร์บี้ จึงมีการปรับปรุง และเพิ่มตุ๊กตาบาร์บี้แบบอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสีผิว ทรงผม รูปร่าง และหน้าตา ให้มีความหลากหลายมากขึ้น

 

บาร์บี้ สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ “Dream Big” ปลูกฝังให้เด็กผู้หญิงมีความเชื่อมั่นในตนเอง และเชื่อว่าศักยภาพของตนมีไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีพ การทำงาน การดำเนินชีวิต ฯลฯ อีกทั้งสร้างความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางสังคม ความเท่าเทียมทางเพศ ฯลฯ ผ่านทางตุ๊กตา ภาพยนตร์และซีรี่ย์

 

จากทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า “บาร์บี้เวอร์ชั่นต้นฉบับ” มีความน่าสนใจในหลากหลายมุมมอง และสร้างอิทธิพลต่อเด็กผู้หญิงมามากกว่า 60 ปี ถือเป็น Soft Power ในการปลูกฝังความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในสังคมและสร้างความเชื่อมั่นในตนเองตั้งแต่ยังเด็ก

 

อีกทั้งมีมุมมองที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวัน และการบริหารคนภายในองค์กรที่ได้จากการถอดบทเรียนจากบาร์บี้ เช่น เรื่องการสร้างความมีส่วนร่วม การสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ และการส่งเสริมเรื่องความหลากหลายทางสังคม 

 

ทั้งนี้ ในมุมมองของการบริหารคนภายในองค์กร ฝ่าย HR สามารถหาแรงบันดาลใจ หรือหาแนวคิด ได้ผ่านการถอดบทเรียนต่าง ๆ จากสิ่งใกล้ตัว และนำไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทองค์กรของตนเองอย่างเหมาะสม

#PWG #Pragmaandwillgroup #Lessonlearned #Diversity #Empower

 

(1) Vogue Thailand. (2023). เปิดประวัติ Barbie ก่อนจะมาเป็น Live action. สืบค้นจาก Vogue Thailand

(2) Wikipedia. (2022). Barbie’s Careers. สืบค้นจาก Wikipedia

 

 

ติดตามบทความต่อไปที่เกี่ยวข้อง

  • สร้าง Employee Engagement ที่ดีในองค์กร Read More
  • ก้าวผ่าน Rainbow Washing ใน Pride Month Read More
  • Case Study จาก Zappos องค์กรที่ติดอันดับที่ ๆ คนอยากเข้าทำงานมากที่สุด Read More
หากมีข้อสงสัยเรื่อง People & Organization สามารถติดต่อ Pragma and Will Group ได้ผ่านช่องทางด้านล่างนี้

ติดตาม Pragma and Will Group ได้ที่