ปลดล็อกศักยภาพพนักงาน ด้วยการใช้ Employee Capability Assessment สู่การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

June 18, 2024

โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

ในโลกของการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงในปัจจุบัน การมีพนักงานที่มีความสามารถและทักษะที่เหมาะสมกับงานเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร ทำให้เรื่อง Capability Assessment ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น

 

 

อย่างไรก็ตาม การระบุและประเมินความสามารถของพนักงานอย่างแม่นยำนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับ HR และเหล่า Manager เพราะมีความ Subjective โดยเฉพาะในการวัด Soft Side Capability จึงไม่สามารถระบุ Capability Gap ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

จึงทำให้ Capability Assessment เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการทำ Talent Development ภายในองค์กร

 

Capability Assessment เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรสามารถระบุจุดแข็ง จุดอ่อน และ Capability Gap ของพนักงานได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการวางแผนการทำ Employee Development และการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

การนำเรื่อง Capability มาใช้ภายในองค์กร จะต้องผ่านขั้นตอนพื้นฐาน ที่แต่ละขั้นตอนมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

 

  1. กำหนด Capability ที่พึงประสงค์ ที่ต้องการผลักดันให้พนักงานภายในองค์กรเป็นในภาพรวม และ Capability ในแต่ละตำแหน่งงาน จุดประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐาน และผลักดันพฤติกรรมที่จำเป็นในตำแหน่งนั้น ๆ รวมถึงระดับความเชี่ยวชาญของแต่ละ Capability
  2. ออกแบบ Assessment ทั้งชุดคำถาม และวิธีการสำหรับเข้าถึง Capability ของพนักงาน
  3. ประเมิน Capability จาก Assessment ดังกล่าว ออกมาเป็นคะแนน วิเคราะห์ ตีความ และต่อยอดไปสู่การพัฒนา และการนำไปใช้ในด้านอื่น ๆ

 

 

จะเห็นว่า ในการเข้าถึง Capability แบบดั้งเดิม หรือไม่ได้นำเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วย จะมีข้อจำกัดและความท้าทาย ดังนี้

 

  1. ใช้ต้นทุนทั้งด้านเวลา และจำนวนเงิน: การตั้งต้นเรื่อง Capability ที่พึงประสงค์ขององค์กร วิธีการเข้าถึง Capability และเกณฑ์ในการประเมิน อาศัยทรัพยากรจำนวนมาก เนื่องจากมีความซับซ้อนในการทำความเข้าใจอย่างแท้จริง
  2. มีความ Subjective จากความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ประเมิน: ส่งผลให้การประเมินขาดความต่อเนื่อง และความเป็นมาตรฐานเดียวกัน
  3. ขาดประสิทธิภาพในการนำไปใช้: อาจยากต่อการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์รายคน หรือเทียบระดับกลุ่ม ระดับองค์กร ทำให้เกิดความท้าทายในการนำข้อมูลไปต่อยอดในอนาคต

 

 

ด้วยข้อจำกัด ความซับซ้อน และความท้าทายเหล่านี้ จึงทำให้ Capability Assessment จำเป็นต้องเข้ามามีส่วนในการพัฒนาพนักงานภายในองค์กร

 

Capability Assessment เป็นกระบวนการที่ช่วยให้องค์กรสามารถประเมิน Capability และศักยภาพของพนักงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ กระบวนการนี้ครอบคลุมทั้ง Capability ในระดับบุคคลและระดับองค์กร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุจุดแข็ง จุดอ่อน และ Capability Gap ที่สำคัญในตำแหน่งงาน

 

 

ประโยชน์ของการนำ Capability Assessment มาต่อยอดภายในองค์กร

 

  1. การนำ Capability Assessment ในระดับเริ่มต้น สามาถใช้ในการคัดเลือกผู้สมัครที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่สุดได้
  2. ช่วยในการวางแผนการทำ Talent Development เนื่องจากผลการประเมินจะระบุ Capability Gap ของพนักงานแต่ละคน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนการฝึกอบรมและพัฒนาอย่างตรงจุด
  3. ช่วยในการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง หรือ Succession Planning เนื่องจากสามารถช่วยให้องค์กรสามารถระบุพนักงานที่มี Leadership Capability ที่ครบถ้วน และพร้อมสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

 

 

การนำ Technology มาใช้ในการประเมิน Capability ของพนักงาน

 

ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การประเมินความสามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แพลตฟอร์มการประเมินออนไลน์ ระบบการจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System) และเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) สามารถช่วยให้องค์กรดำเนินการประเมินได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

นอกจากนี้ ยังมี AI และ Machine Learning ที่สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมิน และให้ Recommendation ที่มีประโยชน์สำหรับการพัฒนาพนักงาน เพื่อเพิ่มความแม่นยำ ประสิทธิภาพ และการตัดสินใจที่ดีขึ้นในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล

 

 

Final Thoughts เกี่ยวกับ Employee Capability Assessment

 

Capability Assessment เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถระบุ Capability Gap ของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรจะสามารถวางแผนการพัฒนาพนักงาน การสืบทอดตำแหน่ง และการปรับปรุงกระบวนการทำงานได้อย่างตรงจุด ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในระยะยาว

 

การลงทุนในการนำ Capability Assessment มาใช้ภายในองค์กร จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การนำ Capability Assessment มาใช้ภายในองค์กร ต้องอาศัยการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง นำผลการประเมินไปใช้อย่างจริงจัง และติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาที่แท้จริง

 

หากต้องการติดต่อเรื่องการออกแบบ Capability Assessment สามารถติดต่อได้ที่ช่องทางด้านล่าง

 

 

#PWG #PragmaandWillGroup #HRTheSeriesPWG #Assessment #Capability #CapabilityAssessment #TalentDevelopment #CapabilityGap

 

 

Reference:

 

Acorn. (n.d.). The How-To Guide to Effective Capability Assessment. Retrieved from Acorn

 

Ascendify. (2019, March 14). Capability Assessments in Talent Management & Acquisition: 3 Strategies. Retrieved from  Ascendify

 

 

ติดตามบทความที่เกี่ยวข้อง

  • Succession Planning การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง – กุญแจสู่ความสำเร็จขององค์กรในระยะยาว Read More
  • HR Technology Trend อะไรที่น่าจับตามอง ในปี 2024 และชาว HR วางแผนจะลงทุนเรื่องอะไร Read More
  • Competency หรือ สมรรถนะ คืออะไร ต่างจาก Skill อย่างไร Read More
หากต้องการติดต่อสามารถติดต่อ Pragma and Will Group ได้ที่ Contact

ติดตาม Pragma and Will Group ได้ที่