เมื่อการเป็น Purpose-Driven Organization ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป
September 15, 2023
โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.
แชร์บทความนี้
Purpose-Driven Organization หรือองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมายของการดำรงอยู่ เป็นคำที่ได้ยินกันหนาหูในช่วงที่ผ่านมา
ทำไมคนถึงหันมาให้ความสำคัญกับเรื่อง Purpose ล่ะ แล้วการเป็น Purpose-Driven Organization จะสร้างประโยชน์ต่อธุจกิจอย่างไรได้บ้าง ในบทความนี้มีคำตอบ
ในสมัยก่อน องค์กรมักมุ่งสู่การเป็นผู้นำตลาด การสร้างรายได้ หรือกำไรสูงสุด ฯลฯ แต่ในตอนนี้ โลกธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความคิดของพนักงานส่วนมาก ผู้ถือหุ้น คนรุ่นใหม่ รวมไปถึงความคิดของลูกค้า องค์กรจึงต้องแสดงตนว่า “เหตุผลของการมีอยู่ขององค์กรเราคืออะไร” เพื่อเป็นฐานรากสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ และสร้างความรู้สึกร่วมในองค์รวม
Purpose-Driven Organization คืออะไร?
คือ องค์กรที่มีอยู่ด้วยจุดมุ่งหมายและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เพื่อสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลกและสังคม มากกว่าการมุ่งหวังเพียงกำไรอย่างเดียว เช่น มุ่งที่จะใช้พลังงานสีเขียว มุ่งสร้างความเท่าเทียมทางเพศ มุ่งช่วยเหลือคนยากลำบาก มุ่งสนับสนุนความหลากหลาย ฯลฯ
โดยบทบาทของ HR ก็เป็นอีกส่วนสำคัญ ในการผลักดันองค์กรไปสู่การเป็น Purpose-Driven Organization สามารถทำได้โดย การแปลความถ้อยเหล่านั้น ให้เป็น Action จริง โดยเน้นเรื่องการสื่อสารภายในสู่ภายนอก และสร้างความเชื่อมโยงในทุกระดับ ทั้งระดับบุคคล ระดับทีม และระดับฝ่าย ผ่านการสื่อสารที่เหมาะสม เพื่อสร้างความสอดคล้อง และความชัดเจน อีกทั้งสื่อสารเรื่อง Purpose ขององค์กรให้ชัดเจน ในการดึงดูดพนักงานใหม่เข้ามาเช่นกัน
นอกจากนี้ เราขอแบ่งให้เห็นถึง ผลดีของการเป็น Purpose-Driven Organization ออกเป็น 3 ส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ ดังนี้
ส่วนที่ 1 คือ การสร้าง Social Impact (ต่อสังคม)
องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย Purpose จะมุ่งสร้าง Impact ทางบวกให้กับสังคม โดยแต่ละองค์กรอาจมุ่งไปที่ Social Issues ที่แตกต่างกัน เช่น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำ ฯลฯ การที่องค์กรมุ่งแก้ปัญหาเหล่านี้ จะสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือปลูกฝังแนวคิดใหม่ที่มีความหมายได้ รวมถึงหากหลายองค์กรมีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหาในเรื่องเดียวกัน ก็จะยิ่งสามารถสร้าง Impact ที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างแท้จริงต่อสังคม
ส่วนที่ 2 คือ การสร้าง Employee Fulfillment (ต่อพนักงาน)
แบ่งออกเป็น
– การรักษาพนักงานเดิม
มีสถิติที่น่าสนใจจาก Deloitte ในปี 2020 กล่าวว่า Purpose-Driven Organization มีเปอร์เซ็นต์ที่จะรักษาพนักงานเดิมได้สูงกว่าองค์กรทั่วไปกว่า 40% (1)
Purpose-Driven Organization จะสามารถเชื่อมพนักงานทุกระดับเข้าด้วยกันได้ หากมีการสื่อสารที่ดีภายในองค์กร เพราะทุกคนเห็นภาพสุดท้ายตรงกันว่าองค์กรต้องการไปอยู่ในจุดไหน
ในปัจจุบัน ความต้องการของพนักงานเปลี่ยนไป ไม่ได้เพียงทำงานเสร็จ แต่พนักงานต้องการสิ่งที่เรียกว่า Sense of Purpose สูงขึ้น สิ่งที่สำคัญคือ งานที่ทำสร้างประโยชน์อะไรได้บ้าง สามารถสร้าง Impact ได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะสร้าง Employee Engagement ที่แข็งแรงมากขึ้น และกระตุ้นให้พนักงานสร้างผลงานที่ดีขึ้นไปในอนาคต
– การดึงดูดพนักงานใหม่
มีสถิติที่น่าสนใจจาก Harvard Business Review Reports กล่าวว่า 86% ของ Young Employee ยินดีที่จะถูกต่อรองเกี่ยวกับเงินเดือนหรือตำแหน่ง หากองค์กรนั้น มี Purpose ที่ตรงกับความสนใจของตน (2)
จึงจะเห็นได้ว่า หลาย ๆ องค์กรที่ต้องการดึงดูด Young Talent มักจะสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่มี Purpose ที่แข็งแรง และสร้างความเชื่อมโยงกับ Purpose ระดับบุคคล
ส่วนที่ 3 คือ การสร้าง Customer Connection (ต่อลูกค้า)
ลูกค้าพร้อมที่จะสนับสนุนแบรนด์ที่สามารถสร้าง Emotional Connection กับตนได้ ไม่ว่าจะเป็นจากการสื่อสารภาพลักษณ์ของแบรนด์ การจัดการ Supply Chain การดูแลพนักงานในองค์กร ฯลฯ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะแบรนด์ก็ต้องสร้างความโปร่งใสในทุกขั้นตอนของการทำธุรกิจ
จึงทำให้แบรนด์ที่ดำเนินตาม Purpose ที่แท้จริงของตนเอง สามารถสร้าง Performance ที่ดีขึ้น
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เราจึงมี Case Study จากองค์กรที่มี Purpose-Driven ที่ชัดเจน มาให้ทุกคนได้ลองศึกษากัน
- แบรนด์ Patagonia
แบรนด์เสื้อผ้าและอุปกรณ์ Outdoor จากสหรัฐอเมริกา มุ่งสร้างความสำคัญเรื่องการลด Environmental Footprint ด้วยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสนับสนุนเรื่องการดูแลพนักงานอย่างเป็นธรรม และพยายามปลูกฝังคนไม่ให้หลงใหลใน Fast Fashion เพราะเป็นธุรกิจที่สร้าง Material Waste สูง และมีโปรแกรม Care & Repair เพื่อเป็นแนวทางในการใช้สินค้าจาก Patagonia ได้นานขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Repair Tricks, DIY Repair Guides, หรือการดูแลสินค้าขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เสื้อผ้าตัวนั้น ๆ อยู่กับเราได้นานที่สุด ที่สามารถสร้างความผูกพันธ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
- แบรนด์ Dove
มีการใช้ Purpose-Driven Marketing ช่วยในการสร้างความแตกต่างระหว่างแบรนด์ตนเองกับแบรนด์สบู่เจ้าอื่น ๆ ในตลาด โดยการสนับสนุนเรื่องการให้จำกัดความใหม่เรื่องความสวยของผู้หญิง ที่มีความหลากหลายมากกว่า Beauty Standard แบบเดิม ๆ ซึ่งผลลัพธ์คือ ยอดขายเพิ่มจากขึ้น 2.5 Billion USD สู่ 4 Billion USD หลังจากเปลี่ยนวิธีการสื่อสาร
- แบรนด์ TOMS
แบรนด์รองเท้าลำลองจากสหรัฐอเมริกา ที่ก่อตั้งโดย Blake Mycoskie ที่เป็นนักธุรกิจที่เชื่อในการทำความดี และการสร้างความแตกต่าง โดยแบรนด์ TOMS มุ่งแก้ปัญหาเรื่อง Social Issues ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ปัญหาเรื่อง Mental Health ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และปัญหาการใช้ความรุนแรง ซึ่งสามารถติดตามการวัดผลได้ทาง Website ของแบรนด์อย่างโปร่งใส อีกทั้งต้องการช่วยเหลือคนด้อยโอกาสที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ซึ่งแบรนด์ได้บริจาครองเท้าไปมากกว่า 96 ล้านคู่ใน 75 ประเทศทั่วโลกแล้ว รวมถึงในค่ายผู้ลี้ภัยชาวซีเรียในจอร์แดนและจีน (3)
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย Purpose หรือ Purpose-Driven Organization กลายเป็นเรื่องสำคัญต่อธุรกิจในปัจจุบัน เพราะสามารถสร้าง Impact ทางบวกต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นต่อสังคม พนักงาน และลูกค้า ซึ่งองค์กรสามารถศึกษาจาก Case Study ข้างต้น หรือ Case Study อื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และปรับใช้ให้เข้ากับบริบทองค์กรของตนเองได้ตามความเหมาะสม
#PWG #Pragmaandwillgroup #Purpose #PurposeDrivenOrganization #Vision #HRTheSeriesPWG
(1) The Cigna Group. (2022). Purpose-Driven Organizations more likely to have engaged, committed employees. สืบค้นจาก The Cigna Group
(2) Ragan PR Daily. (2022). For attracting top talent, purpose must come first. สืบค้นจาก Ragan PR Daily
(3) Marketing Think. (2020). แบรนด์รองเท้าที่ซื้อ 1 คู่ แล้วแจกเด็กยากไร้ 1 คู่. สืบค้นจาก Marketing Think
ติดตามบทความต่อไปที่เกี่ยวข้อง
- ถอดรหัส 5 ตัวอย่างคนรุ่นใหม่ ที่มี Visionary Mindset Read More
- Generation Gap หนึ่งในความท้าทายในที่ทำงาน Read More
- สร้าง Employee Engagement ที่ดีในองค์กร Read More