เอาชนะเรื่อง Capability Gap ในองค์กร ด้วย Capability Gap Analysis

June 25, 2024

โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

อะไรคือ Capability Gap ? และเกิดขึ้นได้อย่างไร

 

“Capability ที่จำเป็นในแต่ละงาน เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าการเรียนรู้ของคน”

 

จากการตีพิมพ์เรื่อง ‘The Future of Job Report ในปี 2016’ โดย World Economic Forum หลายองค์กรคาดการณ์ว่า 35% ของ Capability ของพนักงาน จะถูก Disrupt ใน 5 ปีถัดไป

 

และในปี 2023 ตัวเลข 35% ถูกเปลี่ยนเป็นถึง 44% ซึ่งเป็นผลจากการเข้ามาของ Technology

 

จากสถิติของ World Economic Forum ข้างต้น ได้ให้เหตุผลในเรื่อง Capability ถูก Disrupt ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงานมีความซับซ้อนมากขึ้น และเรื่อง Technology Literacy กลายเป็น Core Skill ที่เติบโตเร็วเป็นอันดับ 3 ทำให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิด Capability Gap ในองค์กร

 

อีกทั้งเรื่อง Curiosity, Lifelong learning, Resilience, Flexibility, Agility, Motivation, Self-awareness มีความสำคัญมากขึ้น รวมถึงสถานการณ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ Capability บางอย่างถูกยกระดับความสำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นต้อง Take Action เพื่อปิดช่องว่างเหล่านั้น

 

 

Capability Gap Analysis คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับองค์กรในทุกธุรกิจ

 

Capability Gap Analysis เป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับองค์กรในทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม Capability Gap ที่ไม่ได้รับการพัฒนาจะส่งผลกระทบอย่างมาก ทั้งต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรและ Performance ของพนักงาน

 

Capability Gap Analysis เป็นกระบวนการที่มีระบบในการประเมินและระบุ Capability Gap ในปัจจุบันขององค์กรกับCapability ที่ต้องการ เพื่อจะได้วางแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

เจาะลึก ทำไม Capability Gap Analysis จึงมีความสำคัญ?

 

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างความสอดคล้องเชิงกลยุทธ์ ระหว่างเป้าหมายและความต้องการทางธุรกิจ และ Capability ในปัจจุบันของพนักงาน” เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร

 

เมื่อผสมผสานกับการใช้ Technology ที่สามารถนำไปปรับใช้กับบริบทที่แตกต่างของแต่ละองค์กร การทำ Capability Gap Analysis จะยิ่งสามารถพัฒนา Capability ของพนักงานได้อย่างตรงจุด ทั้งเรื่องเกณฑ์มาตรฐานที่สร้างความแม่นยำมากขึ้น และระบบที่สามารถติดตามผลการพัฒนาเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการนำไปใช้ไปจริง ซึ่งพนักงานควรมีการวัด Capability อย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

 

 

ขั้นตอนการทำ Capability Gap Analysis ภายในองค์กร ประกอบไปด้วย

 

  1. กำหนด Capability ที่องค์กรต้องมุ่งเน้นเป็นสำคัญ

เกี่ยวกับการวิเคราะห์ว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน องค์กรต้องการผลักดัน Capability ที่พึงประสงค์อะไรบ้าง เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายทางธุรกิจ

 

  1. สร้างความชัดเจนให้กับ Capability ที่กำหนดไว้ให้ชัดเจน

นำ Capability ข้างต้นมาทำให้ชัดเจนมากขึ้น โดยนิยาม Capability แต่ละตัว และระดับความเชี่ยวชาญ (Proficiency Level) เพราะส่งผลไปถึงแนวทางการพัฒนา และต่อยอดในอนาคต

 

  1. เข้าถึง Capability Gap ของพนักงาน

ใช้เครื่องมือ หรือ Assessment ต่าง ๆ ที่สามารถระบุถึง Capability Gap ของพนักงานได้ ซึ่งอาจปรับให้เข้ากับบริบทของตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือเป็น Capability ของคนในองค์กรในภาพรวม สู่การผลักดัน Core Value ในลำดับต่อไป

 

  1. พัฒนาเป็น Action Plan

จัดลำดับความสำคัญของ Capability Gap ตามเป้าหมายขององค์กร สร้างแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ ทำการวิเคราะห์ความต้องการเพื่อนำไปพัฒนา Development Plan

 

  1. ดำเนินการและ Monitor ผลลัพธ์การพัฒนา

มีการปรับปรุง และติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

 

 

ผลกระทบที่ชัดเจนที่สุด หากไม่เข้าใจ Capability Gap ปัจจุบันของพนักงาน จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาได้อย่างตรงจุด ไม่เป็นไปตามทิศทางและเป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้ ส่งผลต่อการลงทุนพัฒนาที่ไม่มีประสิทธิภาพ และใช้เวลานาน พัฒนาตามคู่แข่งได้อย่างล่าช้า

 

ผลลัพธ์สุดท้าย คือ Productivity ลดต่ำลง และ Performance ของพนักงานอาจไม่เท่ากับที่คาดหวังไว้กับตำแหน่งงานนั้น ๆ จากการขาด Capability ที่เหมาะสม

 

เพราะจะเห็นได้ว่าการพัฒนา Capability อย่างเหมาะสม และมุ่งเน้นพัฒนาต่อยอดที่จุดแข็งของพนักงาน

 

และจะสามารถเพิ่ม Employee Engagement สร้างการมีส่วนร่วม รู้สึกผูกพันต่อองค์กรถึง 23% และสร้าง Performance ที่ดีขึ้น 18% เลยทีเดียว

 

กลยุทธ์การพัฒนาเรื่อง Capability Gap Analysis ภายในองค์กร

 

เมื่อรู้ Capability Gap แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการพัฒนากลยุทธ์เพื่อพัฒนา หรือปิดช่องว่างเหล่านั้น ซึ่งควรออกแบบให้มีความน่าสนใจ ตอบโจทย์กับเรื่องที่ต้องการพัฒนา และสร้างให้พนักงานอยาก Engage มากขึ้น เช่น

 

  1. ออกแบบ Training Program ให้เหมาะกับวิธีการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มคน

 

แต่ละกลุ่มคน และแต่ละ Career Stage อาจเหมาะกับวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน องค์กรสามารถนำวิธีการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ มาสร้างความน่าสนใจในการเรียนรู้มากขึ้น เช่น On-the-Job Training, เข้าร่วม Workshop, Gamification Training, Peer Learning, ทำ Project-Based Learning ฯลฯ อาจนำแต่ละวิธีมาผสมผสานให้เหมาะสม วัดผล และปรับปรุงตามสมควร

 

ซึ่งไอเดียต่าง ๆ อาจเกิดจากการทำ One-on-One ระหว่าง Manager และลูกทีม เพื่อคุยถึงวิธีการเรียนรู้ที่สนใจ และความเหมาะสมในการพัฒนา Capability แต่ละตัว

 

 

  1. ออกแบบ Mentorship และ Coaching Program

จากสถิติของ Forbes พบว่า กว่า 75% ของ Leaders เห็นว่า การ Mentoring นั้นมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความสำเร็จทางอาชีพ และยิ่งเห็นผลในระยะยาว

 

และหาก Mentor มีข้อมูล Capability Insight และ Guideline ที่มีคุณภาพ จะยิ่งสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาเรื่อง Capability ที่พึงประสงค์มากขึ้น

 

 

  1. สร้าง Learning Community และ Culture แห่งการเรียนรู้ในองค์กร

 

การสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กร จะยิ่งผลักดันให้พนักงานอยากพัฒนาตนเอง เปิดโอกาสและสร้างสิ่งแวดล้อมให้เป็นมิตรต่อการตั้งคำถาม สร้างความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมภายในองค์กร

 

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ ต้องถูกครอบด้วย Capability Insight ที่องค์กรออกแบบ และเข้าถึงอย่างมีมาตรฐาน นำไปพัฒนาจริงกับพนักงาน และวัดผลอีกครั้ง เพื่อดูถึงประสิทธิ คุณภาพ ความคุ้มค่าในการลงทุน และปรับปรุงตามความเหมาะสม

 

 

Final Thoughts เกี่ยวกับเรื่อง Capability Gap Analysis ภายในองค์กร

 

การมีความเข้าใจเรื่อง Capability ของพนักงานในองค์กร จะสามารถเห็นถึงช่องว่าง หรือ Capability Gap ที่ควรพัฒนา จะผลักดันให้องค์กรปิดช่องว่างของ Capability ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการเห็นทั้งระดับภาพรวม และระดับบุคคล โดยใช้วิธีการเรียนรู้ที่ผลักดันในเรื่องเหล่านั้นที่เหมาะกับแต่ละกลุ่มคน

 

เช่น ออกแบบ Training Program ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย การมี Mentoring และ Coaching Program และการสร้าง Learning Community ภายในองค์กร ครอบด้วย Capability Insight การวัดผลอย่างสม่ำเสมอ และปรับปรุงตามความเหมาะสม เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างแท้จริงในระยะยาว

 

หากสนใจสามารถสอบถามได้ที่ Contact

 

#PWG #PragmaandWillGroup #Capability #CapabilityGap #CapabilityGapAnalysis #TalentDevelopment #EmployeeDevelopment

 

 

Reference:

 

Houtman, K. (n.d.). Do you have a Capability Gap? Circus Street. Circus Street

 

How to Conduct a Capability Gap Analysis for Organizational Development. (2022, April 6). Acorn Labs. Medium

 

 

 

ติดตามบทความที่เกี่ยวข้อง

  • ปลดล็อกศักยภาพพนักงาน ด้วยการใช้ Employee Capability Assessment สู่การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ Read More
  • Competency หรือ สมรรถนะ คืออะไร ต่างจาก Skill อย่างไร Read More
  • ปลดล็อกศักยภาพ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย Capability อย่างมีมาตรฐาน Read More
หากต้องการติดต่อสามารถติดต่อ Pragma and Will Group ได้ที่ Contact

ติดตาม Pragma and Will Group ได้ที่