Organizational Culture คืออะไร? ความสำคัญและการนำไปใช้จริงในองค์กร
July 1, 2024
โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.
แชร์บทความนี้
ทำไมวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ถึงสำคัญ?
พนักงานใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานเป็นสัดส่วนมาก เมื่อเทียบกับการใช้ชีวิตในแง่มุมอื่น ๆ ดังเช่น
คนที่อาศัยอยู่ใน US ใช้เวลาถึง 90,000 ชั่วโมง หรือกว่า 1 ใน 3 ของชีวิต ในที่ทำงานเลยทีเดียว
ด้วยระยะเวลาการทำงานเป็นสัดส่วนมากเช่นนี้ ทำให้ Organizational Culture หรือวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมุ่งเน้น เพื่อให้เกิด Long-Term Job Satisfaction อีกทั้งจากงานวิจัยจำนวนมาก เห็นถึงความสอดคล้องระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับผลตอบแทนรายปีขององค์กร
ดังคำกล่าวของ Peter Drucker ว่า “Culture eats strategy for breakfast”
ที่ตีความได้ว่า ถึงแม้ว่าองค์กรจะมีกลยุทธ์ที่เหนือชั้น แต่ถ้าวัฒนธรรมองค์กรไม่ได้สอดคล้องหรือไม่ได้สนับสนุนกลยุทธ์นั้น ๆ ความสำเร็จก็จะไม่เกิด
แท้จริงแล้ว Organizational Culture หรือวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) คือ คุณค่า ความเชื่อ บรรทัดฐาน ที่คนในองค์กรมีร่วมกัน ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมรายบุคคล การตัดสินใจ บรรยากาศและประสบการณ์ในการทำงานของพนักงาน โดยวัฒนธรรมองค์กรที่ดีจะช่วยสร้างความผูกพันและความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงธุรกิจที่ดีขึ้น
อีกทั้งวัฒนธรรมองค์กรที่ดี จะสามารถดึงดูด รักษาพนักงานที่มีความสามารถ เป็นส่วนสนับสนุนให้มีผลลัพธ์การทำงานที่ดีขึ้น สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร และหากเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้าง ก็จะส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมได้
แล้วผู้นำองค์กรและ Manager จะสามารถสนับสนุนเรื่อง Organizational Culture ภายในองค์กรได้อย่างไร?
“Corporate culture starts at the top”
ผู้บริหารและ Senior Leadership ในองค์กรเป็นแนวหน้าสำคัญ ในการสื่อสารและถ่ายทอดเรื่องวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวก เพราะเมื่อพนักงานภายในองค์กรเห็น จะมองเป็น Role model และปฏิบัติตาม
ผู้นำในองค์กร สามารถสนับสนุนเรื่อง Organizational Culture ผ่าน 3 แง่มุม ได้แก่
- Mastery หรือการสร้างความมั่นใจแก่พนักงาน ผ่าน Feedback และคำแนะนำจาก Manager สำหรับ Professional Development ทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมมากขึ้น และสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน
- Autonomy หรือการให้อำนาจพนักงานในการตัดสินใจในขอบเขตงานของตนเอง เพื่อสร้างความไว้วางใจ สร้างความมีส่วนร่วม นำไปสู่ความพึงพอใจในงานสูงขึ้น
- Purpose เพราะคนมักถูกผลักดันและขับเคลื่อนด้วย Purpose เมื่องานและ Purpose มีความเกี่ยวข้องกัน จะสามารถกระตุ้นพนักงานให้เห็นภาพใหญ่ของงานมากขึ้น และเห็นถึงคุณค่าของงานที่ตนทำในแต่ละขั้นตอน
ดังนั้น ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการกำหนดและสื่อสารวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) โดยต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและปฏิบัติตามค่านิยมขององค์กร
ในมุมมองของ HR จะมีส่วนสนับสนุน และขับเคลื่อน Organizational Culture ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ได้ ดังนี้
หน้าที่หลักของ HR กับเรื่องวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) คือ สร้างความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์กันระหว่าง Culture ที่ Manager และพนักงานต้องการ เพื่อทำให้การนำไปใช้จริงเกิดขึ้นกับทุกระดับภายในองค์กร ซึ่งสามารถทำผ่าน Employee Lifecycle ต่าง ๆ ได้ ดังนี้
-
การสรรหาและคัดเลือกพนักงาน (Recruitment Process)
ควรมุ่งเน้นสื่อสารวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ให้ชัดเจนผ่านช่องทางต่าง ๆ ขององค์กร เช่น Website, Social Media, Job Post, Career Fair เป็นต้น เพื่อดึงดูดผู้ที่สนใจในวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ดังกล่าว
อีกทั้งในการคัดเลือก ต้องสรรหาพนักงานที่มี Cultural Fit กับองค์กร ซึ่งอาจทำผ่าน Assessment เพื่อความแม่นยำ และวัดผลได้ หรือสังเกตจากการสัมภาษณ์งาน เป็นต้น
-
การปฐมนิเทศพนักงานใหม่ (Onboarding Process)
ควรมีการแนะนำวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ให้พนักงานใหม่เข้าใจตั้งแต่เริ่มงาน อธิบายถึง Culture, Value, Expectation ต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานใหม่เข้าใจ สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กรดังกล่าวได้
-
การฝึกอบรมและพัฒนา (Learning and Development)
ควรจัด Learning and Development Program ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) เพื่อผลักดันพฤติกรรมอันพึงประสงค์ดังกล่าว อีกทั้งสำหรับผู้ที่กำลังจะขึ้นเป็นผู้นำ ยิ่งต้องเน้นย้ำวัฒนธรรมองค์กรต่าง ๆ รวมถึงต้องสามารถสื่อสาร ถ่ายทอด สู่พนักงานได้
-
การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)
ควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) เพื่อผลักดันพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของพนักงาน อีกทั้งมีการถาม Feedback พนักงานเพื่อปรับปรุงตามความเหมาะสม
-
การออกจากงาน (Offboarding)
ควรทำ Exit Interview กับพนักงานที่ออกจากองค์กรไป ว่ามี Cultural Issues ที่ทำให้มี Turnover หรือไม่ เพื่อนำ Feedback นั้นไปปรับปรุง
นอกจากนี้ HR ต้องเป็น Change Champion ในการผลักดันวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) หรือสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นจริง เพราะมักมีแรงต้านจากความเคยชินเป็นปกติ ทำให้หากองค์กรอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) HR ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการสื่อสารให้คนทุกระดับภายในองค์กรเข้าใจ และผลักดันให้เกิดขึ้นจริง
15 ลักษณะของวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ที่ดี
วัฒนธรรมองค์กรที่ดีหรือ Healthy Organizational Culture จะสามารถผลักดันการมีส่วนร่วม ประสิทธิภาพในการทำงาน และนำไปสู่ความยั่งยืนได้ มาดูกันว่า 15 ลักษณะของวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ที่ดี จาก AIHR ได้แก่อะไรบ้าง
-
มีค่านิยมร่วมกัน (Shared Common Values)
พนักงานทุกคนเข้าใจและยึดถือค่านิยมขององค์กรเป็นแนวทางในการทำงาน ตัดสินใจ และสร้างปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เป็นการสร้างความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมอันพึงประสงค์กับ Core Mission และ Vision
-
มีมุ่งหมายและทิศทางที่ชัดเจน (Clear Purpose and Direction)
องค์กรมีมุ่งหมายและทิศทางที่ชัดเจน ช่วยให้พนักงานเข้าใจในทิศทางเดียวกัน
-
มีการสื่อสารที่โปร่งใสและสม่ำเสมอ (Transparent and Regular Communication)
มีการสื่อสารอย่างเปิดเผย สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสร้างความไว้ใจ ความร่วมมือกัน และสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
-
ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม (Collaboration and Teamwork)
พนักงานร่วมมือและช่วยเหลือกันในการทำงาน เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งนำไปสู่เรื่อง Problem-Solving ที่ดีขึ้น สร้างนวัตกรรม และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
พนักงานมีส่วนร่วมและมุ่งมั่น (Active Involvement and Commitment)
พนักงานมีความกระตือรือร้นและทุ่มเทในการทำงาน รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ทำให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น กล้าที่จะเสนอไอเดียใหม่ ๆ เพื่อผลักดันองค์กรต่อไป
-
มีโอกาสในการเติบโต (Opportunities for Growth)
องค์กรให้โอกาสในการพัฒนาตนเองและก้าวหน้าในสายอาชีพ สนับสนุนด้วย Training Program, Mentorship, และแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในงาน และรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ในองค์กร
-
มีการให้รางวัลและผลตอบแทน (Recognition and Rewards)
องค์กรมีวิธีการสร้างการรับรู้ถึงความพยายามและความสำเร็จของพนักงาน ซึ่งอาจมาในรูปแบบ ผลตอบแทน โบนัส เลื่อนตำแหน่ง หรือคำพูดเชิงบวก เพื่อกระตุ้นและสร้างกำลังใจให้พนักงานมีส่วนร่วมต่อไป
-
มีบรรยากาศที่เป็นมิตร (Welcoming and Inclusive Atmosphere)
องค์กรส่งเสริมความหลากหลายและปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน มีความเคารพซึ่งกันและกันถึงแม้จะมีพื้นหลังต่างกัน
-
มีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจ (Credibility and Trust)
ผู้บริหารและองค์กรมีจริยธรรมและดำเนินการอย่างโปร่งใส สร้างความไว้วางใจให้กับพนักงาน สามารถนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับองค์กร และสนับสนุนความคิดใหม่ ๆ กล้าลอง กล้าเสี่ยง ผลักดันนวัตกรรม
-
มีวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่ชัดเจน (Clear Objectives and Strategies)
องค์กรมีการสื่อสารเกี่ยวกับทิศทาง และแนวทางสู่ความสำเร็จอย่างชัดเจน ช่วยให้พนักงานสามารถจัดลำดับความสำคัญของงาน และจัดสรรทรัพยากรของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อนำไปสู่เป้าหมายร่วมเดียวกัน
-
มีความยืดหยุ่นและการตอบสนองที่รวดเร็ว (Flexibility and Responsiveness)
องค์กรสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
-
กล้าให้ตัดสินใจและเสนอความคิดริเริ่ม (Empowerment and Initiative)
องค์กรสนับสนุนการตัดสินใจและความคิดริเริ่มต่าง ๆ ที่สร้างผลบวกให้กับองค์กร เพื่อสร้าง Sense of Ownership ของพนักงาน
-
จัดการความขัดแย้งอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ (Constructive Handling of Disagreements)
เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น องค์กรสามารถแก้ไขได้อย่างดี เคารพทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และพยายามหาทางออกตรงกลางให้ได้
-
มีจริยธรรมที่เป็นมาตรฐาน (High Ethical Standards)
มีจริยธรรม และความยุติธรรม ทั้งผ่านการตัดสินใจด้านธุรกิจ หรือการจัดการภายใน นอกจากจะช่วยปกป้องภาพลักษณ์ขององค์กรแล้ว ยังช่วยสนับสนุนความสำเร็จอย่างยั่งยืนด้วย
-
สร้างการมีส่วนร่วมนอกจากเรื่องธุรกิจ (Community Engagement)
มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างผลลัพธ์ทางบวกนอกเหนือจากเป้าหมายทางธุรกิจ
ตัวอย่างวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) จากองค์กรชั้นนำระดับโลกอย่าง Google
Google เป็นหนึ่งตัวอย่างที่มีวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) ที่โดดเด่น และมีการสนับสนุนให้พฤติกรรมอันพึงประสงค์เกิดขึ้นจริง โดยมีแก่น คือ จ้างงานคนที่มีความสามารถสูงเข้ามาทำงานในองค์กร และผลักดันให้คิดนอกกรอบ รวมถึงมี Benefit Packages ที่ดึงดูดและรอบด้าน
อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือ Google มี Concept ชื่อ “Think 10x” ที่หมายถึง พัฒนาสิ่งต่าง ๆ 10 เท่า แทนที่จะพัฒนาเพียง 10% เพื่อปลูกฝังแนวคิดริเริ่ม และนวัตกรรม ทำให้เมื่อ Google มี Product ใหม่ออกมา พนักงานจะหาทางพัฒนาตั้งแต่วันแรกที่เริ่มเปิดตัว
นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมในที่ทำงานก็เอื้ออำนวยพนักงาน เช่น มีพื้นที่ให้พักผ่อน, มีอาหารฟรี, Nap Pods, Gym ฯลฯ ที่สนับสนุนให้พนักงานสามารถผ่อนคลายยามเครียด และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในที่ทำงานอย่างครบครัน
Final Thoughts เกี่ยวกับการสร้าง Organizational Culture ที่ดีในองค์กร
วัฒนธรรมองค์กรเป็นรากฐานสำคัญที่กำหนดความสำเร็จขององค์กร และไม่ใช่แค่คำพูดหรือสโลแกนที่ติดอยู่บนผนัง แต่เป็นวิถีปฏิบัติที่ฝังลึกในพฤติกรรมของพนักงานทุกคน องค์กรที่มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเป็นบวกจะสามารถดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ สร้างความผูกพันและแรงบันดาลใจในการทำงาน และนำไปสู่ผลประกอบการที่ดีในระยะยาว
ผู้บริหารและฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีบทบาทสำคัญในการสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ดี โดยต้องเป็นแบบอย่างที่ดีและปฏิบัติตามค่านิยมขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงสื่อสารและส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่การสรรหาและคัดเลือก การปฐมนิเทศ การฝึกอบรม ไปจนถึงการประเมินผลและการให้ผลตอบแทน
ในโลกธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงทุกวันนี้ วัฒนธรรมองค์กรจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้น การลงทุนในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีจึงเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตขององค์กรนั่นเอง
#PWG #PragmaandWillGroup #HRTheSeriesPWG #OrganizationalCulture #Culture #วัฒนธรรมองค์กร #Leader
Reference:
Harvard Professional Development. (2022). Why Workplace Culture Matters. Harvard Professional Development
AIHR Digital. (2022). Types of Organizational Culture: The Ultimate Guide. AIHR Digital
ติดตามบทความที่เกี่ยวข้อง
- ปลดล็อกศักยภาพ สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย Capability อย่างมีมาตรฐาน Read More
- ปลดล็อกศักยภาพพนักงาน ด้วยการใช้ Employee Capability Assessment สู่การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ Read More
- Competency หรือ สมรรถนะ คืออะไร ต่างจาก Skill อย่างไร Read More