Talent Management ออกแบบกลยุทธ์บริหารคนเก่ง ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน
July 2, 2024
โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.
แชร์บทความนี้
Talent Management ออกแบบกลยุทธ์บริหารคนเก่ง ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน
ในยุคปัจจุบันที่ธุรกิจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงทั้งเชิงธุรกิจ และเชิงการดึงดูด รักษาคนเก่งไว้ในองค์กร Talent Management จึงเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถ ดึงดูด บริหาร และรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ได้
บทความนี้จะสรุปทั้งความหมาย ความสำคัญ แนวทางการทำ Talent Management ภายในองค์กร เพื่อเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ จากความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่าอย่าง “พนักงาน” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อะไรคือ Talent Management ?
การบริหารจัดการบุคลากร (Talent Management) คือ กระบวนการที่องค์กรใช้ในการบริหาร รักษา และพัฒนาพนักงานที่มีความสามารถ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการนี้ครอบคลุมตั้งแต่การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร การพัฒนาศักยภาพ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การให้รางวัลและผลตอบแทน ไปจนถึงการวางแผนกำลังคนในอนาคต
หลังจากเหตุการณ์หลากหลายครั้งที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง Talent Management อย่าง Great Resignation หรือ Big Quit ในปี 2021 ที่สร้างผลกระทบต่อธุรกิจ และตลาดแรงงานเป็นวงกว้าง ทำให้การ “Put People First” เป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องออกแบบให้ดีและให้ความสำคัญ
โดย Concept สำคัญของ Talent Management มีองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้
- สร้างความสอดคล้องระหว่าง Talent Management และกลยุทธ์ขององค์กร
- สร้างความสม่ำเสมอ และเป็นมาตรฐานของการบริหารจัดการพนักงาน
- สร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริหารในการพัฒนาพนักงาน
- สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องกับการดึงดูดและรักษาพนักงานในองค์กร
- สร้าง Employer Branding ที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์
- สร้างสมดุลระหว่างความต้องการในระดับท้องถิ่นและระดับสากล (สำหรับองค์กรข้ามชาติ)
ทำไม Talent Management ถึงมีความสำคัญกับองค์กร
การบริหารจัดการพนักงาน หรือ Talent Management อย่างมีประสิทธิภาพมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง การที่องค์กรสามารถดึงดูด รักษา และพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ได้จะช่วยให้องค์กรมีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน
มีตัวเลขที่น่าสนใจที่ทำให้องค์กรควรหันมาดูแลเรื่อง Talent Management ดังนี้
- ต้นทุนในการจ้างงานพนักงานใหม่ อาจสูงถึง 5 – 2 เท่า เมื่อเทียบกับเงินเดือนรายปีของพนักงานเดิม (Gallup)
- 35% ของพนักงานที่ลาออก เผยเหตุผลเรื่อง “รู้สึกว่าองค์กรไม่ได้สนใจตนเท่าที่ควร” เป็นอันดับ 3 ของการลาออก (McKinsey)
- 63% ของพนักงานใน US เผยว่า “การไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพ” เป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้ลาออก (ClearCo.)
- องค์กรที่ลงทุนเรื่อง Talent Management จะมี Employee Engagement เพิ่มถึง 15% (WifiTalents)
- 77% ของพนักงาน เชื่อว่า Talent Management ที่ดี สามารถผลักดันเรื่องนวัตกรรมภายในองค์กรได้ (WifiTalents)
และมีสถิติต่าง ๆ อีกมากมายที่สื่อถึงความสำคัญของ Talent Management ต่อองค์กร
วิธีการออกแบบกลยุทธ์ Talent Management อย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างกลยุทธ์เรื่อง Talent Management ที่มีประสิทธิภาพควรประกอบด้วยองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้:
ขั้นที่ 1: วางแผนกำลังคนให้สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร (Workforce Planning)
- ระบุตำแหน่งงานที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร (Critical Roles)
ให้ความสำคัญกับการลำดับ Critical Roles ภายในองค์กรออกมา เช่น ตำแหน่งงานหลักที่ต้องทำให้สำเร็จเพื่อบรรลุเป้าหมายในองค์กร ผู้นำทีมที่สำคัญ ฯลฯ ซึ่งแต่ละองค์กรจะแตกต่างกันไปตามกลยุทธ์ที่วางแผนไว้
- วิเคราะห์ Capability Gap และวางแผนเพื่อปิดช่องว่างนั้น
ลองดูว่า จากทิศทางและเป้าหมายขององค์กรแล้ว มี Capability อะไรที่สำคัญ จำเป็น ในการขับเคลื่อนพฤติกรรมอันพึงประสงค์ในการทำงาน ซึ่งควรดูทั้งภาพรวมระดับองค์กรและระดับกลุ่ม เพื่อเห็น Capability Gap และออกแบบแนวทางพัฒนาพนักงานต่อไป องค์กรอาจใช้ Technology หรือ Assessment ต่าง ๆ มาช่วยเข้าถึง Capability ได้อย่างแม่นยำ และจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อีกด้วย
ขั้นที่ 2: สรรหา คัดเลือก และรักษาพนักงานที่ใช่ (Attract, Hire, Retain)
- มุ่งเน้นที่การสรรหาพนักงานที่มีทักษะและความสามารถตรงตามความต้องการขององค์กร
องค์กรควรสรรหาพนักงานที่เป็น High-Performing Employee หรือพนักงานที่มีความสามารถ เพราะจะมี Productivity ในการทำงานมากถึง 8 เท่า เมื่อเทียบกับพนักงานปกติ อีกทั้งต้องเป็นคนที่มี Capability ที่สอดคล้องกับองค์กรด้วย
อีกหนึ่งตัวเลขที่น่าสนใจคือ “ให้ความสนใจกับ 5% ของพนักงาน ที่ผลักดันผลลัพธ์ 95% ขององค์กร” ซึ่งองค์กรสามารถเริ่มต้นได้จาก การหา Critical Role ให้เจอตามขั้นที่ 1 นั่นเอง
- ให้ผลตอบแทนตาม Employee Value Proposition ที่สื่อสารไว้
การสื่อสาร Employee Value Proposition (EVP) มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการสร้างความสอดคล้องระหว่าง สิ่งที่องค์กรจะมอบให้ สิ่งที่พนักงานจะแสดงออก และความคาดหวังของพนักงาน ว่าตรงใจแค่ไหน และให้ได้จริงหรือไม่
ซึ่ง Employee Value Proposition หรือ EVP ควรสอดคล้องกับแนวทางขององค์กร และกลุ่มพนักงานที่องค์กรต้องการ เช่น หากพนักงานที่องค์กรต้องการชอบทำงานแบบไฮบริด และต้องมีความรู้เฉพาะด้านอย่างเชี่ยวชาญ องค์กรอาจต้องให้การยืดหยุ่นในการทำงาน และเงินเดือนที่ Competitive เพื่อรักษาให้พนักงานทำงานที่องค์กรเรา เป็นต้น
- ใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเชิงลึกในการหา Insights
องค์กรต้องให้ความสำคัญกับ People Analytics หรือการบริหารพนักงานที่ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เพื่อบริหารได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีข้อมูลต่อยอดสู่แนวทางบริหารต่อ ๆ ไป
เช่น ทำไมพนักงานถึงลาออกจากองค์กร เมื่อมีข้อมูลจำนวนมาก อาจเห็น Key Finding ว่า พนักงานไม่เห็นเส้นทางการเติบโตในองค์กร หมดไฟ เครียด หัวหน้างานมีความคาดหวังในงานสูง แต่ไม่ให้สิ่งสนับสนุน เป็นต้น เมื่อเห็นเช่นนี้ องค์กรจะได้หาแนวทางแก้ไขไปทีละจุด ตามลำดับความสำคัญ
ขั้นที่ 3: พัฒนาและออกแบบการเรียนรู้กับ Capability ที่จำเป็น
- จัดให้มีโปรแกรมการพัฒนา Capability เสริมจุดแข็ง พัฒนาจุดอ่อน
องค์กรควร Assess หรือเข้าถึง Capability ปัจจุบันของพนักงาน และออกแบบแนวทางพัฒนา ซึ่งควรออกแบบให้ตรงตามความต้องการของแต่ละเนื้องาน อีกทั้งคำนึงถึง Capability ที่จำเป็นในอนาคต เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
- ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการแบ่งปันความรู้ภายในองค์กร
องค์กรอาจนำผู้ที่มีความโดดเด่น หรือความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ในองค์กร มาแบ่งปันความรู้ภายใน เพื่อก่อให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ และสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างเปิดเผย
นอกจากนี้ สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น แนวทางการเรียนรู้ที่ได้ผลของพนักงานแต่ละกลุ่ม เป็นต้น
ขั้นที่ 4: พัฒนาเรื่องการบริหารและประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)
- สร้างความเป็นธรรม และโปร่งใสในการประเมิน
- สนับสนุนให้ Manager ให้คำแนะนำได้ดียิ่งขึ้น
ทำได้โดยมี Guideline และข้อมูลที่สำคัญของพนักงานแต่ละคนไว้ เพื่อสามารถ Coach พนักงาน และทำบทสนทนาให้ตรงจุดมากขึ้น ซึ่งต้องพัฒนาทั้งทักษะการ Coach ของ Manager และการมีข้อมูลที่มีคุณภาพในการประกอบการพูดคุยกับพนักงาน เช่น ระดับ Capability ปัจจุบัน, ระดับ Capability ที่ควรจะเป็น เป็นต้น
- มี Peer-Based Feedback เพราะพนักงานทำงานใกล้ชิดกันเองมากที่สุด
เปิดโอกาสให้พนักงานให้ Feedback กันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง และพัฒนาแนวทางการทำงานร่วมกัน
ขั้นที่ 5: ให้ความสำคัญกับ Employee Experience
การสร้างประสบการณ์การทำงานที่ดีของพนักงานหรือ Employee Experience มีความสำคัญมากขึ้น หลังจาก Covid-19 เนื่องจากหลังจากนั้น เส้นแบ่งระหว่าง งาน และ ชีวิตส่วนตัว เริ่มไม่ชัดเจน ดังนั้น หากต้องการให้ Talent Management มีประสิทธิภาพ ไม่ควรมองข้ามเรื่อง Employee Experience ไป สามารถทำได้โดยการ
- สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อการทำงาน และความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว
- ให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่หลากหลายและยอมรับความแตกต่าง
- มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานตลอดวงจรชีวิตการทำงาน
อนาคตของ Talent Management จะเป็นอย่างไร?
ในอนาคตที่ไม่แน่นอน Talent Management ควรรีบนำ Data มาทำ People Analytics เพื่อเห็นถึงมุมมองต่าง ๆ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งนำ Technology เข้ามาช่วยในการบริหาร หรือช่วยตีความข้อมูลจำนวนมาก ให้ประหยัดเวลา และพัฒนาได้ตรงจุดมากขึ้น
รวมถึง อย่าละเลยเรื่อง Employee Experience ของพนักงาน เพราะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการรักษาพนักงานไว้ในองค์กร หมั่นตรวจสอบความต้องการ และปัญหาที่พนักงานพบเจอ เพื่อแก้ไขได้อย่างทันท่วงที เช่น เรื่อง Mental Health ความเครียด หมดไฟ ที่เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่พนักงานพบเจอ
Final Thoughts เกี่ยวกับ Talent Management
Talent Management นั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุความสำเร็จได้ในระยะยาว การลงทุนในการพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการบุคลากรที่ครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่ การวางแผนกำลังคน การสรรหา คัดเลือก การพัฒนาศักยภาพ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้พนักงาน จะช่วยให้องค์กรสามารถดึงดูด รักษา และพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ ผลิตภาพ ความสามารถในการแข่งขันขององค์กร และความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่ Contact
#PWG #PragmaandWillGroup #HRTheSeriesPWG #TalentManagement #PeopleAnalytics #Talent #Organization #Business
Reference:
McKinsey & Company. (n.d.). What is talent management? McKinsey
Forbes Advisor. (2023, March 15). What is talent management? Everything you need to know. Forbes Advisor
ติดตามบทความที่เกี่ยวข้อง
- Talent ในปัจจุบันต้องเป็นอย่างไร วิธีดึงดูด และรักษา ต้องทำอย่างไร Read More
- Competency หรือ สมรรถนะ คืออะไร ต่างจาก Skill อย่างไร Read More
- ความท้าทายของผู้บริหาร งานล้นมือ จะดูแล Talent อย่างไร (Talent Development for Manager) Read More