Workplace culture หรือวัฒนธรรมองค์กรสำคัญอย่างไร แนวทาง และตัวอย่างจากองค์กรชั้นนำ

December 4, 2024

โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

Workplace culture หรือ วัฒนธรรมองค์กร คือ พลังที่มองไม่เห็นแต่มีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรม ประสิทธิภาพในการทำงาน และการสนับสนุนเป้าหมายขององค์กรของพนักงาน

 

 

การที่องค์กรออกแบบ Workplace culture หรือวัฒนธรรมองค์กร ให้เหมาะสมตามบริบทขององค์กรและพนักงาน สามารถสร้างแนวโน้มให้พนักงานอยู่กับองค์กรนานขึ้น หากวัฒนธรรมองค์กรตอบโจทย์และเข้ากับพนักงาน

 

 

โดยประมาณ ผู้คนในสหรัฐอเมริกา ใช้เวลากว่า 90,000 ชั่วโมง หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของชีวิต ในที่ทำงาน

 

สถิติจาก Harvard Division of Continuing Education ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่มาก ทำให้ผู้คนให้ความสำคัญกับ “ชีวิตในที่ทำงาน” อย่างมากในการเลือกงานใหม่ หรือพิจารณาที่จะออกจากองค์กรปัจจุบัน

 

ในบทความนี้จะกล่าวถึง ความสำคัญของ Workplace culture  ผลกระทบที่มีต่อองค์ประกอบต่าง ๆ ของธุรกิจ และกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเชิงบวก

 

 

แล้วอะไร คือ Workplace culture หรือวัฒนธรรมองค์กร

 

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับคำว่า ” Workplace culture “ กันก่อน

 

ถึงแม้จะเป็นคำที่ได้ยินกันบ่อยครั้ง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะอธิบายความหมายได้อย่างชัดเจน Workplace culture ประกอบด้วยค่านิยม พฤติกรรม ทัศนคติ ประเพณี และสิ่งต่าง ๆ ที่สร้างบรรยากาศการทำงานขององค์กรนั้น ๆ

 

Forbes อธิบายว่า Workplace culture คือ

“สภาพแวดล้อม ที่ล้อมรอบเราตลอดเวลา”

 

ในขณะที่เว็บไซต์ Indeed ให้คำจำกัดความว่าเป็น

“กลุ่มของทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรมที่สร้างบรรยากาศการทำงานในองค์กร”

 

อย่างไรก็ตาม คำอธิบายที่เรียบง่ายที่สุดมาจาก Marvin Bower ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการชื่อดัง ที่กล่าวว่า Workplace culture คือ “วิธีที่เราทำสิ่งต่าง ๆ ที่นี่”

 

ไม่ว่าจะให้คำจำกัดความอย่างไร  Workplace culture ก็เป็นสิ่งที่วัดได้ยากในทางรูปธรรม เพราะคือสิ่งที่ทำให้รู้สึกอย่างไรที่ต้องมาทำงานที่นี่ มากกว่าจะเป็นกฎระเบียบที่เขียนไว้ที่ทุกองค์กรมีลักษณะ และบรรยากาศที่แตกต่างกันไป จึงเป็นสาเหตุที่สร้างความท้าทายในการสร้าง Workplace culture ที่เหมาะสม

 

 

ทำไม Workplace culture จึงสำคัญในองค์กร

 

Peter Drucker ที่ปรึกษาด้านการจัดการและนักเขียนคนสำคัญ มีคำกล่าวหนึ่ง ที่เป็นที่รู้จักในวงกว้างว่า “Culture eats strategy for breakfast” หรือ “วัฒนธรรมกลืนกลยุทธ์เป็นอาหารเช้า”

 

แปลความได้ว่า ถึงแม้จะมีกลยุทธ์ที่ดีที่สุดและมีบุคลากรที่ดีที่สุด แต่ก็ไม่มีความหมายอะไรหาก Workplace culture ไม่เอื้ออำนวย

 

เนื่องจากเหตุผลดังกล่าว การให้ความสำคัญกับ Workplace culture จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก สำหรับองค์กรที่ต้องการผลักดันวิธีการทำงานของพนักงาน และสิ่งที่พนักงานรู้สึกต่อการทำงาน

 

 

หัวข้อด้านล่าง คือเหตุผลบางประการที่ทำให้ Workplace culture มีความสำคัญ และส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบต่าง ๆ ของธุรกิจ

 

  1. สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

 

องค์กรของคุณให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตและสุขภาพกายของพนักงานหรือไม่…

 

Workplace culture มีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน และยิ่งหลังจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้บรรดานายจ้างให้ความสำคัญกับเรื่อง Employee Wellbeing มากขึ้น

 

สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีเป็นแนวโน้มที่ได้รับความสำคัญสูงสุดในการศึกษาแนวโน้ม Human Capital โลกของ Deloitte ในปี 2564 โดยมีผู้บริหาร 80% ระบุว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จขององค์กร

 

องค์กรจำนวนมากได้ปรับเปลี่ยนไปสู่การทำงานแบบรีโมทและกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานมีสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวที่ดีขึ้น รวมถึงเวลาทำงานที่ยืดหยุ่นตามความต้องการในการดูแลบุตร

 

 

  1. ผลลัพธ์การทำงานที่ดีขึ้นของพนักงาน

 

Workplace culture มีอิทธิพลต่อวิธีการทำงานของพนักงาน ซึ่งในที่สุดแล้วอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลประกอบการขององค์กร สถานที่ทำงานที่มีบรรยากาศแห่งความสุขและการสนับสนุนจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานมาทำงานในแต่ละวัน รวมถึงเพิ่มสภาพอารมณ์และความสามารถในการจดจ่ออยู่กับงาน

 

ผลการวิจัยจาก Oxford University ระบุว่า พนักงานที่มีความสุขมีผลิตภาพสูงกว่าพนักงานที่ไม่มีความสุขถึง 13%

 

อีกทั้งสนับสนุนการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพของพนักงาน จะรวมพนักงานจากทุกภูมิหลังและสร้างความรู้สึกของการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพนักงาน แม้แต่คนที่มีมุมมองและบุคลิกที่แตกต่างกันมากก็สามารถทำงานร่วมกันได้หากมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน

 

จากผลการศึกษาของ McKinsey พบว่า องค์กรที่มีความหลากหลายและสามารถสนับสนุนความหลากหลายเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวโน้มจะสร้างผลกำไรสูงกว่าองค์กรที่มีความหลากหลายน้อยกว่า

 

 

  1. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในองค์กร

 

การสื่อสารที่ดีช่วยสร้างความเคารพและความไว้วางใจซึ่งกันและกันในองค์กร การสร้างการมีส่วนร่วมนั้นจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารสองทางที่เปิดกว้าง และเปิดโอกาสให้พนักงาน

 

 

  1. ความโปร่งใสภายในองค์กร

 

ความโปร่งใสในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความไว้วางใจ หากองค์กรสามารถสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปิดเผยมากขึ้น พนักงานจะรู้สึกมีส่วนร่วมในการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ทำให้การประชุมแต่ละครั้งจะมีคุณค่ามากขึ้น เนื่องจากองค์กรจะได้รับความคิดเห็นจริงและไอเดียใหม่ ๆ จากทุกภาคส่วนของธุรกิจ

 

 

  1. การสรรหาบุคลากรที่น่าดึงดูดมากขึ้น

 

Workplace culture และภาพลักษณ์องค์กรที่โดดเด่นมักจะดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถได้ชัดเจนและจริงใจกว่า เว็บไซต์ขององค์กรที่ระบุค่านิยมและวัตถุประสงค์หลักไว้

 

เนื่องจากช่วยให้ผู้สมัครงานสามารถประเมินได้ว่าตนเองเหมาะสมกับองค์กรหรือไม่จากสิ่งแวดล้อมจริง นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการพิสูจน์ให้ผู้มีความสามารถเห็นว่าค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กรคุณนั้นเหมาะสมกับตนหรือไม่

 

 

  1. การมีส่วนร่วมและการรักษาพนักงานในระยะยาว

 

Workplace culture ที่ดี คือวัฒนธรรมที่ให้คุณค่ากับพนักงานและการมีส่วนร่วมในความสำเร็จของธุรกิจ พนักงานที่รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งมากกว่าเป็นเพียงฟันเฟืองจะมีแนวโน้มที่จะอยู่กับองค์กรนานขึ้น

 

ซึ่งองค์กรที่มี Workplace culture ที่ดีมีแนวโน้มที่จะรักษาพนักงาน Gen Z ได้มากกว่าถึง 16 เท่า ซึ่งไม่เพียงแต่นำไปสู่ความภักดีในระยะยาวเท่านั้น แต่ยังช่วยลดต้นทุนในการสรรหาบุคลากรใหม่อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

 

อีกทั้ง สถิติจาก SHRM พบว่า พนักงานจะมองหางานใหม่ ลดลงถึง 78% หากมีวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวก ทำให้สร้างความพึงพอใจในที่ทำงานได้

 

 

ทำความเข้าใจ Workplace culture หรือวัฒนธรรมองค์กรในปัจจุบัน

 

เพื่อสร้างและสนับสนุน Workplace culture ให้ดีขึ้น ต้องหันมามองและยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก่อน

 

บางคนอาจมองสิ่งของ เช่น โต๊ะปิงปอง หรือตู้ขายขนม ว่าถือเป็นการสร้าง Workplace culture หรือวัฒนธรรมองค์กรแล้ว แต่แท้จริงแล้ว Workplace culture คือการเชื่อมโยงพนักงานให้เข้ากับจุดหมายเดียวกัน ผ่านพฤติกรรมอันพึงประสงค์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะผ่านทางออนไลน์ หรือที่ออฟฟิศ

 

หรือเรียกว่า “วิถีการทำงานขององค์กร เพื่อไปสู่จุดหมายเดียวกัน”

ทำให้องค์กรควรรับรู้ถึงความคิดของพนักงานเกี่ยวกับ Workplace culture ในปัจจุบันก่อน สามารถทำได้ผ่านการส่งแบบสำรวจออนไลน์ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน และนำข้อคิดเห็นเหล่านั้น ไปพัฒนาให้ Workplace culture มีความแข็งแรงมากขึ้น และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

ต่อไปลองมาดู ตัวอย่างรูปแบบของ Workplace culture กันดีกว่า ว่ามีประเภทใดบ้าง

 

  1. Adhocracy culture หรือ วัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความคิดสร้างสรรค์และกล้าเสี่ยงอย่างมีหลักการ

 

Adhocracy culture จะมุ่งเน้นการสร้างสรรค์และไม่กลัวที่จะเสี่ยง โดยสนับสนุนให้พนักงานกล้าที่จะเสนอสิ่งที่สามารถปรับปรุง พัฒนา สร้างสรรค์ สินค้าและบริการใหม่ ๆ ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ทำให้สร้างความโดดเด่นเรื่องนวัตกรรมในตลาดได้

 

แต่อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมองค์กรประเภทนี้ ต้องหมั่นทบทวนสิ่งที่ต้องการจะมุ่งเน้นอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการค้นหานวัตกรรม และไอเดียใหม่ ๆ เป็นประจำ อาจทำให้หลงลืมจุดประสงค์แรกไป

 

 

  1. Clan culture หรือ วัฒนธรรมองค์กรคล้ายเครือญาติ

 

Clan culture มักเกิดกับองค์กรที่พนักงานทำงานเหมือนครอบครัว พบบ่อยในองค์กรขนาดเล็กที่เป็นธุรกิจครอบครัว โดยวัฒนธรรมองค์กรเช่นนี้ มักมีลำดับชั้นในการสื่อสารไม่มากนัก พนักงานและผู้บริหารระดับสูงสามารถเข้าถึงกันได้ง่าย

 

จากรูปแบบการสื่อสารที่สามารถทำได้อย่างเปิดเผย และลำดับชั้นไม่มากนัก ทำให้พนักงานมักเสนอความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา

 

แต่อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมองค์กรประเภทนี้ต้องระวังถึงปริมาณงานของพนักงาน บางคนอาจผ่อนคลายเกินไป หรือบางคนอาจมีภาระงานเยอะเกินไป และควรสนับสนุนให้สื่อสารเชิงสร้างสรรค์ หรือมีระบบที่อำนวยความสะดวกให้พนักงานสามารถแสดงความเห็นสำหรับการบริหารภายในองค์กรได้

 

 

  1. Purpose-driven culture หรือ วัฒนธรรมองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมายและจุดยืนที่ชัดเจน

 

Purpose-driven culture คือ วัฒนธรรมองค์กรที่สื่อสารถึงจุดมุ่งหมายอย่างชัดเจน ในการดึงดูดพนักงาน และพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารเรื่องจุดหมายขององค์กรที่เป็นจุดยืนตั้งแต่แรก ทำให้พนักงานหรือคนที่เกี่ยวข้องเข้าใจและพร้อมจะผลักดันองค์กรไปพร้อมกัน

 

แต่อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมองค์กรเช่นนี้ ต้องสร้างความโปร่งใสของจุดยืน และสื่อสารภายในอย่างเหมาะสมหากต้องการเปลี่ยนจุดยืน หรือมีด้านอื่น ๆ ที่ต้องการเน้นเพิ่มจากเดิม

 

 

ตัวอย่าง Workplace culture หรือวัฒนธรรมองค์กรจากองค์กรชั้นนำระดับโลก

 

Spotify วัฒนธรรมองค์กรแบบ Agile สร้างสมดุลระหว่างอิสระทางการทดลอง และการยอมรับความผิดพลาด

 

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ Agile ที่แข็งแกร่งมีส่วนทำให้ Spotify เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเป็นวัฒนธรรมที่เป็นมิตรต่อการทดลอง ความเป็นอิสระทางความคิด และความรับผิดชอบของพนักงาน

 

แนวทางของ Spotify เริ่มต้นด้วยการจัดตำแหน่งพนักงานให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายร่วมกัน และให้ทีมหาแนวทางของตนเองเพื่อไปถึงจุดนั้น อีกทั้ง ยอมรับความคิดเห็นของพนักงาน หากพนักงานมีข้อมูลในมือที่สนับสนุนความคิดของตนอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์

 

 

Ikea วัฒนธรรมองค์กรแบบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นหัวใจสำคัญ

 

Ikea เน้นย้ำเรื่องการเชื่อใจกันและการ และเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน

 

โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ “เพื่อสร้างชีวิตประจำวันที่ดีขึ้น สำหรับผู้คนมากมาย” และพนักงานเชื่อในจุดหมายเดียวกัน ถึงแม้ว่า Ikea จะกลายเป็นผู้เล่นระดับโลก แต่วัฒนธรรมดั้งเดิมที่เป็นแก่นขององค์กรก็ยังคงยึดถืออยู่

 

อีกหนึ่งสิ่งที่ Ikea ให้ความสำคัญ คือ การใส่ใจถึงต้นทุน เพราะจะส่งต่อถึงราคาขายผู้บริโภค ทำให้จะใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า คำนึงถึงผลกระทบทางการเงินโดยรวม

 

 

เรื่อง Workplace culture หรือวัฒนธรรมองค์กรในอนาคตที่ควรจับตามอง

 

เรื่อง Workplace culture จะถูกยกระดับความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นมิติที่ผลักดันพฤติกรรมอันพึงประสงค์ให้พนักงานแสดงออกมา อีกหนึ่งความท้าทายคือ

 

แล้วองค์กรจะรู้ได้อย่างไรว่า พนักงานมีความรับรู้ หรือมีระดับ Culture fit เพียงใด

ทำให้การทำ Assessment ทั้งสำหรับพนักงานปัจจุบันและการคัดเลือกคนเข้ามามีความสำคัญ

 

อีกทั้ง ความหลากหลายของพนักงานมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Digital nomad, Multigenerational workforce หรือพนักงานหลากหลายช่วงอายุ ทำให้ฝ่าย HR ต้องทำการบ้านที่จะสนับสนุนให้พนักงานแต่ละประเภทมีพฤติกรรมหลักไปในทางเดียวกัน และที่สำคัญคือ ผลักดันให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นแบบอย่างสำคัญในการสื่อสารเรื่อง Workplace culture ภายในองค์กร

 

อีกหนึ่งโอกาสสำคัญที่องค์กรควรพิจารณา คือ การนำ Technology เข้ามาประยุกต์ให้สามารถเข้าถึงระดับพฤติกรรมของพนักงานในองค์กร และติดตามการพัฒนาในมิติต่าง ๆ อย่าลืมว่า ปัจจัยสำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ คือ พฤติกรรมที่องค์กรต้องการผลักดันให้พนักงานแสดงออก เพื่อไปสู่เป้าหมายขององค์กร

 

หากต้องการปรึกษาเรื่องวัฒนธรรมองค์กร หรือ Assessment สำหรับเข้าถึงระดับพฤติกรรมต่าง ๆ ของพนักงาน สามารถติดต่อ Pragma and Will Group ได้ที่ Contact

 

#PragmaandWillGroup #WorkplaceCulture #วัฒนธรรมองค์กร #OrganizationCulture #EmployeeExperience #EmployeeWellbeing #Technology #CapabilityAssessment

 

 

Reference:

 

Harvard University. (n.d.). Why workplace culture matters. Retrieved from Harvard University

Fearless Culture. (n.d.). 11 examples of companies with powerful cultures. Retrieved from  Fearless Culture

Octanner. (n.d.). The 8 most common types of workplace cultures. Retrieved from Octanner

Society for Human Resource Management. (2023). SHRM Global Culture Report. Retrieved from Society for Human Resource Management

Workplace. (n.d.). What is workplace culture? Retrieved from Workplace

 

ติดตามบทความที่เกี่ยวข้อง

  • เปิดโลก 5 HR Trends 2025 ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง และโอกาสทางธุรกิจ Read More
  • สำรวจ Future of Work ปี 2025 เมื่อ AI มาแรง – ต้องแย่งชิง Talent – ความยืดหยุ่นในการทำงานเพิ่มขึ้น Read More
  • Competency หรือ สมรรถนะ คืออะไร ต่างจาก Skill อย่างไร Read More
หากต้องการติดต่อสามารถติดต่อ Pragma and Will Group ได้ที่ Contact

ติดตาม Pragma and Will Group ได้ที่