Boreout VS Burnout VS Brownout ภาวะปัญหา Mental Health ของพนักงานบริษัทที่น่ากังวล

October 6, 2023

โดย ปิยะพร ขุนทองเอก, Marketing Associate, Pragma and Will Group Co., Ltd.

แชร์บทความนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

อีกไม่กี่วัน จะเป็นวัน World Mental Health Day (10 ตุลาคม ของทุกปี) ในบทความนี้ เราจึงขอนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตหรือ Mental Health ของพนักงานในองค์กร ที่เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อ Performance ของพนักงาน

 

มีสถิติที่น่าสนใจ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิตของพนักงานในบริบทต่าง ๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ ดังนี้

– จากสถิติของ Mental Health America พบว่า 76% ของพนักงานเห็นว่า ความเครียดจากที่ทำงาน สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพนักงานได้ (1)

 

– จากสถิติของ Westfield Health พบว่า 59% ของพนักงาน เห็นว่าปัญหาเรื่อง Mental Health ของตนเองจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการย้ายงาน

 

– จากสถิติของ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า คนในกรุงเทพฯ จำนวน 7 ใน 10 อยู่ในสภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งนั่นหมายถึง คนทำงานในกรุงเทพฯ กว่า 5.7 ล้านคน กำลังเผชิญภาวะ Burnout อยู่ (2)

 

เพราะฉะนั้นองค์กรไม่ว่าจะขนาดใหญ่ หรือเล็ก ก็ไม่ควรละเลยเรื่อง Mental Health ของพนักงาน

 

โดยในบทความนี้ จะพาทุกคนมารู้จักกับคำ 3 คำ ได้แก่ Boreout Burnout และ Brownout ซึ่งเป็นภาวะแต่ละแบบที่เกี่ยวกับสภาพจิตใจต่องานที่ทำอยู่ ซึ่งหลาย ๆ คน อาจคุ้นเคยกับคำว่า Burnout หรือภาวะหมดไฟ ที่ได้ยินกันอยู่บ่อยครั้ง แต่วันนี้เราอยากให้ทุกคนรู้จักคำว่า Boreout และ Brownout ด้วย เพื่อสังเกตตัวเองว่า เราตรงกับภาวะดังกล่าวหรือไม่ แล้วต้องทำอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นกับเรา

 

ขอเริ่มจากความหมายของแต่ละคำก่อน เพื่อสร้างพื้นฐานความเข้าใจ…

Boreout หรือ “ภาวะเบื่องาน” ที่จะทำให้พนักงานรู้สึกเบื่อกับงานที่ตนทำอยู่ในทุกวัน และทำให้ไม่อยากมีส่วนร่วมกับงานเท่าที่ควรจะเป็น

Burnout หรือ “ภาวะหมดไฟ” ที่เป็นคำที่ทุกคนคุ้นเคยกันทั่วไป ซึ่งเกี่ยวกับการทำงานอย่างหนักเป็นเวลานาน ทำให้รู้สึกเหนื่อย ไม่ได้มีไฟจะพุ่งเข้าหางานเหมือนเมื่อก่อนแล้ว

และอีกคำคือ Brownout หรือ “ภาวะหมดใจ” ที่ตรงตัวเลยว่า หมดใจกับงานที่ทำอยู่ ไม่มีแรงกระตุ้นในการทำงาน และความพึงพอใจในงานลดลง

นอกจากนี้ อยากให้ทุกคนเห็นความแตกต่างของทั้ง 3 คำนี้ ในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง สาเหตุ อาการ ผลลัพธ์ระยะสั้น และวิธีการป้องกัน ไม่ให้เกิดภาวะเหล่านี้กับพนักงาน ดังตารางด้านล่าง

 

ตารางเปรียบเทียบ Boreout Burnout และ Brownout

 

จากทั้ง 3 ภาวะดังกล่าว เป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับหลาย ๆ องค์กร เพราะอาจทำให้เสียบุคลากรคุณภาพดีไปได้ จากการมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตร และงานที่ไม่สอดคล้องตามความคาดหวังของพนักงาน 

ซึ่งองค์กรสามารถป้องกันภาวะ Boreout Burnout และ Brownout ของพนักงานได้ ตั้งแต่การทำเรื่องเล็ก ๆ ที่พนักงานต้องเจอทุกวันในองค์กรให้ดีขึ้น เช่น

 

  1. สร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เป็นมิตรต่อ Mental Health

สิ่งแวดล้อมในการทำงาน เป็นสิ่งที่พนักงานต้องเผชิญอยู่ในทุก ๆ วัน จึงมีความสำคัญอย่างมาก ต่อ Mental Health ของแต่ละคน เพราะฉะนั้น องค์กรต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตร เช่น การโปรโมทเรื่อง Work Life Balance หรือ Work Life Integration เพื่อไม่ให้พนักงานทำแต่งานเพียงอย่างเดียว จนไม่ได้ใช้ชีวิตส่วนตัว และสนับสนุนให้พนักงานพักผ่อน/ ใช้วันลา ในช่วงเวลาอันเหมาะสม เพื่อ Refresh ให้ทั้งร่างกายและจิตใจได้พักผ่อน และพร้อมในการทำงานต่อไป

อีกทั้ง หากพนักงานสร้างผลงานได้โดดเด่น ไม่ว่าจะเรื่องเล็ก หรือใหญ่ องค์กรควรมี Action ให้เห็นว่า เราเห็นถึงความสำเร็จนั้น และมี Role Model เพื่อเป็นแบบอย่างให้พนักงานทำตามอย่างสะดวกใจ ลองนึกภาพตามว่า หากพนักงานอยู่ในองค์กรที่ไม่มีใครลางานไปเที่ยวหรือพักผ่อนเลย ตั้งแต่ต้นปีถึงปลายปี พนักงานทั่วไปก็คงไม่สะดวกใจที่จะลางานอย่างแน่นอน

 

  1. จัดการ Workload ให้สมเหตุสมผล

องค์กรต้องจัดการ Workload และ Deadline ให้สมเหตุสมผล เพราะเป็นนี่มักเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้พนักงาน และเป็นสาเหตุสำคัญที่จะนำไปสู่ภาวะ Burnout ได้ง่าย โดยเฉพาะหากต้องอยู่ในภาวะที่มีงานในมือจำนวนมากในช่วงเวลานาน

เพราะฉะนั้น หากจำนวนงานขององค์กรไม่สามารถลด หรือแบ่งเบาให้กับฝ่ายอื่น ๆ ได้ องค์กรอาจหาทางออกโดยการหาพนักงานภายนอกมาช่วย เช่น จ้างงานแบบ Contract ตามช่วงเวลาที่งานจะหนัก หรือหานักศึกษาฝึกงาน มาช่วยแบ่งเบางานของพนักงานตน

 

  1. หัวหน้าต้องหมั่นพูดคุย และถามความกังวลของพนักงาน

คนที่เป็นหัวหน้า หรือ Supervisor นอกจากจะต้องดูแลเรื่องงานแล้ว ยังมีอีกขาหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ การพูดคุยกับพนักงานที่ดูแลเป็นประจำ และวางตำแหน่งตนเองให้เป็นคนที่พนักงานกล้าที่จะมาบอกความกังวลใจด้วยได้ เพราะบางเรื่อง อาจเป็นเรื่องเล็ก แต่ถ้าสะสมไปเป็นเวลานาน ก็สามารถนำไปสู่ 3 ภาวะข้างต้นได้เช่นกัน

นอกจากนี้ หัวหน้าต้องรู้จักการตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย แต่สามารถทำให้เป็นจริงได้ เพื่อกระตุ้นพนักงาน แต่ไม่ได้สร้างความกดดันจนเกินตัว ที่มาจากเป้าหมายที่ไม่มีทางเป็นจริงได้

 

อย่าลืมทำความเข้าใจเรื่อง “ความคาดหวัง” ทั้งฝั่งพนักงานและฝั่งองค์กรให้ตรงกัน

 

การที่องค์กรพูดถึง Nature ของงานในองค์กรและสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรก่อนที่จะรับพนักงานใหม่เข้ามา เพื่อสร้างการเข้าใจร่วมกัน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ในการป้องกันภาวะ Mental Health ต่าง ๆ ที่กล่าวไปได้ เพราะแต่ละคนอาจมีความคาดหวังในการทำงานที่ต่างกัน บางคนอาจต้องการทำงานที่ท้าทายตลอดเวลา และสามารถจัดการกับความเครียดของตนได้อย่างดี แต่บางคน ต้องการแยกชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานออกจากกันอย่างชัดเจน

การพูดคุยกันถึง Nature ของบริษัท และความคาดหวังของงานก่อน จึงเหมือนคัดคนได้ในระดับหนึ่งว่า จะสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กรได้อย่างราบรื่นหรือไม่

#PWG #Pragmaandwillgroup #CareerLifePWG #MentalHealth #WorkLifeBalance #WorkLifeIntegration #Burnout #Boreout #Brownout

 

 

(1) Runn.io. (2023). 50+ Burnout Statistics That Will Shock You into Action. สืบค้นจาก  Runn.io

(2) Brand Inside. (2020). รู้หรือไม่ คนกรุงเทพ 7 ใน 10 มีภาวะหมดไฟ. สืบค้นจาก Brand Inside

 

 

 

ติดตามบทความต่อไปที่เกี่ยวข้อง

  • ก้าวทันโลกกับ 6 เรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ในโลกธุรกิจปี 2023 Read More
  • สร้าง Employee Engagement ที่ดีในองค์กร Read More
  • Work Life Balance VS Work Life Integration Read More
หากมีข้อสงสัยเรื่อง People & Organization สามารถติดต่อ Pragma and Will Group ได้ผ่านช่องทางด้านล่างนี้

ติดตาม Pragma and Will Group ได้ที่